กัณฑ์ที่ ๔๕๕       ๒๑ เมษายน ๒๕๕๖

 

ต้องหยุดความอยาก

 

 

 

ปัญหาของพวกเราก็คือความอยาก อยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พอไม่เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็จะพยายามหาวิธีทำให้เป็นไปตามความอยาก พอเป็นแล้วก็เท่านั้น ไม่ได้แก้ปัญหาคือความอยาก ไม่ได้ทำให้ความอยากหมดไป พอได้สิ่งที่อยากได้แล้ว ความอยากก็จะโผล่ขึ้นมาอีก อยากได้อีก ก็จะอยากไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหมดปัญหา เพราะเวลาอยากได้อะไร ก็ต้องมีปัญหามีอุปสรรค กว่าจะแก้ปัญหาฟันฝ่าอุปสรรคได้ ก็จะเสียเวลาเสียเงินทองไปโดยใช่เหตุ เพราะไม่ได้แก้ปัญหา กลับสร้างปัญหาขึ้นมาอีก เพราะจะมีความอยากอีก เพราะเบื่อกับของที่ได้มา อยากได้ของที่ยังไม่ได้ ถ้าไม่หยุดความอยาก ความอยากจะไม่มีวันหมดไป ความทุกข์ต่างๆก็จะไม่มีวันหมด วิธีแก้ปัญหาที่แท้จริงก็คือต้องหยุดความอยาก ถ้าหยุดความอยากได้แล้ว ปัญหาต่างๆก็จะหมดไป เหตุที่ทำให้อยาก ก็เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่อยากได้นั้น ไม่ได้แก้ปัญหา ไม่ได้ทำให้ใจอิ่มพอ ไม่ว่าจะเป็นลาภยศสรรเสริญ เป็นความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย จะไม่สามารถให้ความอิ่มความพอแก่ใจได้ ต่อให้ได้มามากน้อยเพียงไรก็ตาม ความพอจะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้หยุดความอยาก ได้เงินมาร้อยล้านก็ยังไม่พอ ได้พันล้านก็ยังไม่พอ ได้แสนล้านก็ยังไม่พอ ยังอยากอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่อยากได้เงินก็อยากจะได้อย่างอื่น ได้เงินมากแล้วก็อยากจะได้เกียรติยศ พอได้ลาภแล้วก็อยากจะได้ยศ รวยแล้วก็อยากจะเป็นคุณหญิงเป็นคุณนาย อยากเป็นรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานาธิบดี จะอยากไปเรื่อยๆ

 

ดังที่เคยพูดไว้ ตอนต้นก็อยากจะอยู่ดีกินดี ไม่อดอยากขาดแคลน พออยู่ดีกินดีแล้ว ก็อยากจะร่ำรวย พอรวยแล้วก็อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากมีเกียรติ มีชื่อเสียงมีหน้ามีตา พอมีแล้วก็อยากจะมีไปนานๆ ไม่อยากให้เสื่อมหมดไป เวลาตายไปก็อยากจะไปสวรรค์ จะอยากต่อไปเรื่อยๆไม่มีวันสิ้นสุด ถ้ายังมีความอยากก็ยังมีความหิว มีความต้องการ มีความไม่พอ ก็จะไม่มีความสุข ต้องหยุดความอยาก เพราะถ้าหยุดความอยากได้ ความอิ่มความพอก็จะเกิดขึ้น พวกเราไม่รู้ความจริงนี้ ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ แล้วนำเอาความจริงนี้มาเผยแผ่ มาบอกพวกเรา พวกเราจะไม่มีวันรู้ได้ ก็จะหลงอยู่กับการหาลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็ต้องมาทุกข์กับความเสื่อมของลาภยศสรรเสริญ ของความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย เช่นเวลาสูญเสียสิ่งที่รักไป สูญเสียบุคคลที่รักไป ก็จะเศร้าโศกเสียใจ ในขณะที่เราอยู่กับสิ่งที่รักกับบุคคลที่รัก ก็จะมีความห่วงใย มีความวิตกกังวล กลัวว่าจะจากไป เวลาไม่มีสิ่งที่รักบุคคลที่รัก ก็อยากจะมี

 

พออยากจะมีก็อยู่ไม่เป็นสุข ต้องดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่รักสิ่งที่ชอบ บุคคลที่รักบุคคลที่ชอบ เพราะใจมีแต่ความอยาก จึงผลักดันให้ไปหาสิ่งต่างๆ ความอยากเกิดจากความหลง เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นความทุกข์ว่าเป็นความสุข เห็นลาภยศสรรเสริญ เห็นความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายว่าเป็นสุข แต่ความจริงแล้วเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เจริญอย่างเดียว เจริญแล้วก็เสื่อมด้วย เกิดแล้วก็ดับ มาแล้วก็ไป มองไม่เห็นส่วนที่เสื่อม ส่วนที่ดับ ส่วนที่จากไป เวลาเห็นสิ่งที่อยากได้ จะไม่คิดว่าจะจากไป จะเสื่อม จะเปลี่ยนไป นี่คือความหลง ที่จะหลอกให้วิ่งเข้าหาความทุกข์ เพราะไม่เห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เห็นความเสื่อมของสิ่งต่างๆ ไม่รู้ว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะให้ความสุขได้อย่างแท้จริง ไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ถ้าไม่ได้พบพระพุทธศาสนา ถ้าได้พบก็จะรู้ว่าความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ในใจ อยู่ในตัวเรา อยู่ที่การทำใจให้สงบ ถ้าไม่มีศาสนาก็จะไม่มีใครรู้ คนที่ไม่มีศาสนาจึงไม่คิดที่จะทำใจให้สงบ ไม่รู้ว่าความสุขที่ยิ่งใหญ่ ความสุขที่ดีเลิศ ความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ความสงบของใจ จึงทุ่มเทเวลาให้กับการหาลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ก็เลยต้องอยู่กับกองทุกข์ เวลาที่สิ่งต่างๆเปลี่ยนไป เสื่อมหมดไป นี่คือความหลงของผู้ที่ไม่ได้เข้าหาศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา

 

พระพุทธศาสนารู้ว่า ความสงบสุขของใจเป็นความสุขที่แท้จริง รู้วิธีสร้างความสุขนี้ให้ถึงจุดสูงสุด ที่ไม่มีวันเสื่อม ศาสนาอื่นก็รู้เหมือนกัน แต่ไม่รู้วิธีสร้างความสุขให้ถึงจุดสูงสุด ที่ไม่มีวันเสื่อม รู้เพียงระดับฌานระดับสมาธิ ที่ต้องเสื่อมหมดไป ไม่รู้วิธีสร้างความสงบที่ถาวร ก็คือพระนิพพาน พระนิพพานก็คือใจที่มีความสงบตลอดเวลา สงบอย่างถาวร ที่เกิดจากการกำจัดความอยากทั้งหลายให้หมดไป ด้วยอำนาจของปัญญา ของสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ที่เห็นว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ต้องมีปัญญามีความรู้นี้ จึงจะสามารถกำจัดความอยากต่างๆ ให้หมดไปได้อย่างถาวร

 

ถ้ากำจัดด้วยการเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เช่นกำหนดดูลมหายใจเข้าออก บริกรรมพุทโธๆ เพื่อไม่ให้คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็จะหยุดความอยากได้ชั่วคราว เพราะความอยากต้องใช้ความคิดเป็นเครื่องมือ พอความคิดหยุดทำงานความอยากก็ต้องหยุดทำงาน แต่ไม่ได้หยุดแบบถาวร เวลาออกจากสมาธิมาคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ความอยากก็จะตามมากับความคิดได้ พอคิดถึงคนนั้นคนนี้ก็เกิดความอยากขึ้นมา อยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พอคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็อยากจะให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็จะเกิดความไม่สงบ เกิดความกระวนกระวายกระสับกระส่าย กระตือรือร้น อยู่ไม่เป็นสุข เพราะความอยากไม่ได้หมดไปอย่างถาวรด้วยการหยุดความคิด ความอยากเกิดจากความหลง เห็นผิดเป็นชอบ เห็นว่าได้อะไรแล้วจะได้ความสุข ต้องแก้ความหลงด้วยสัมมาทิฐิ คือรู้พระอริยสัจ ๔ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ ทรงรู้ว่าความอยากได้สิ่งต่างๆนี้แล เป็นต้นเหตุที่ทำลายความสงบของใจ พอความสงบถูกทำลายไป ความสุขก็หายไป ความทุกข์ก็กลับมาแทนที่ ถ้าอยากจะให้ความสงบความสุขกลับมา ก็ต้องหยุดความอยาก

 

การจะหยุดความอยากได้ ก็ต้องรู้ว่าสิ่งที่อยากได้นั้น ไม่สามารถให้ความสุขที่แท้จริงที่ถาวร นอกจากไม่ให้ความสุขแล้วยังให้ความทุกข์ด้วย ลองพิจารณาดู ทุกวันนี้เราทุกข์กับอะไร ทุกข์กับสิ่งที่เรามีไม่ใช่เหรอ สิ่งที่เราไม่มีเราไม่ทุกข์ คนที่มีสามีมีภรรยา ก็จะทุกข์กับสามีทุกข์กับภรรยา คนที่มีลูกก็จะทุกข์กับลูก มีทรัพย์ก็จะทุกข์กับทรัพย์ มียศก็จะทุกข์กับยศ มีความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ก็จะทุกข์กับความเสื่อมของรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ของตาหูจมูกลิ้นกาย ที่ต้องรักษาให้ดีเพื่ออะไร ก็เพื่อจะได้ใช้ตาดูรูป รักษาหูเพื่อจะได้ยินเสียง ที่จะทำให้เราสุข แต่รักษาอย่างไรไม่ช้าก็เร็วก็ต้องเสื่อมหมดไป ตาหูจมูกลิ้นกายไม่เที่ยง ต้องเสื่อมหมดไป รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะที่ได้เสพสัมผัสก็ไม่เที่ยง มาแล้วก็ไป ดูภาพยนตร์เสร็จแล้วก็หมดไป ถ้าอยากจะดูอีกก็ต้องกลับไปดูอีก ถ้าอยากจะฟังก็ต้องกลับไปฟังอีก พอฟังเสร็จก็หายไปหมด ต้องฟังอยู่เรื่อยๆ ดูอยู่เรื่อยๆ ดื่มอยู่เรื่อยๆ รับประทานอยู่เรื่อยๆ ถึงจะมีความสุข

 

นี่คือความทุกข์ของการมีสิ่งต่างๆ มีลาภก็ต้องทุกข์กับลาภ มียศก็ต้องทุกข์กับยศ มีสรรเสริญก็ต้องทุกข์กับการนินทา เวลาได้ยินเสียงสรรเสริญก็มีความสุข พอได้ยินเสียงนินทาก็จะเกิดความทุกข์ มีความสุขกับรูปเสียงกลิ่นรส พอตาหูจมูกลิ้นกายไม่อยู่ในสภาพ ที่จะเสพรูปเสียงกลิ่นรสได้ก็จะทุกข์ เช่นเวลาร่างกายไม่สบาย ไม่สามารถไปดูไปฟังไปดื่มไปรับประทานได้ ตอนนั้นก็มีแต่ความทุกข์ใจ ถ้าไม่ยุ่งเกี่ยวกับลาภยศสรรเสริญ กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ก็จะไม่ทุกข์ ถ้าไม่มีสามีภรรยา ก็จะไม่ทุกข์กับสามีภรรยา ไม่มีลูกก็ไม่ทุกข์กับลูก ไม่มีร่างกายก็ไม่ทุกข์กับร่างกาย มีร่างกายก็ทุกข์กับร่างกาย ทุกข์กับการดูแลรักษาร่างกาย หาอาหารหาน้ำหาอากาศ มาหล่อเลี้ยงร่างกาย ทุกข์กับความแก่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์กับความตายของร่างกาย พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า ทุกข์ย่อมไม่มีกับผู้ไม่เกิดเท่านั้น ถ้าไม่เกิดก็จะไม่ทุกข์กับลาภยศสรรเสริญ กับตาหูจมูกลิ้นกาย จะไม่เกิดได้ก็ต้องมีสิ่งที่ดีกว่า ที่ทำลายความอยากได้ ก็คือความสงบนี้เอง ถ้าเข้าถึงความสงบแล้ว จะหยุดความอยากได้ เพราะความสุขที่ได้จากความสงบ เหนือกว่าความสุขที่ได้จากความอยาก

 

ถ้าได้ความสุขที่เกิดจากความสงบแล้ว เวลาได้ร้อยล้านพันล้านก็จะไม่ตื่นเต้นดีใจแต่อย่างใด เป็นนายกฯเป็นประธานาธิบดี ก็ไม่ตื่นเต้นดีใจ ไปเที่ยวรอบโลก ๓๖๐ ครั้ง ก็ไม่ตื่นเต้นดีใจ อยู่บ้านสบายกว่า ไม่ต้องวุ่นวายกับการทำหนังสือเดินทาง ทำวีซ่า ตรวจโรค ฉีดยาป้องกันโรคภัยต่างๆ จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก วุ่นวายไปหมด ถ้าไม่มีความสงบความสุขภายในใจ จะถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะคิดว่าจะได้ความสุข ได้หลุดพ้นจากความเบื่อหน่าย เวลาอยู่บ้านไม่มีอะไรทำ จะเบื่อหงุดหงิดรำคาญใจ พอจะได้เดินทางไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ใจก็ปรุงแต่งว่าต้องสนุกต้องสุข ดีกว่าอยู่บ้าน อยู่กับความเบื่อหน่าย ก็เลยยอมสู้กับความยากลำบาก ในการทำหนังสือเดินทาง ทำวีซ่า ตรวจโรค ฉีดยา จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก แล้วก็ต้องเสี่ยงภัยกับการนั่งเครื่องบิน ไม่รู้ว่าจะลงมาแบบไหน จะไม่คิดถึงภัย คิดถึงความทุกข์ยากลำบาก เพราะอยากจะหนีจากความเบื่อหน่าย ที่มีอำนาจมากกว่าการไปเสี่ยงภัย ไปวุ่นวายกับการทำอะไรต่างๆ

 

ถ้ามีความสงบแล้วอยู่เฉยๆจะไม่เบื่อหน่าย เพราะความสงบจะระงับความเบื่อหน่าย ระงับทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด มีแต่ความสุขความสบายความเย็น ความเป็นอุเบกขา ไม่ยินดีไม่ยินร้าย อยู่กับเหตุการณ์ต่างๆได้ อยู่เฉยๆก็อยู่ได้ ถ้าต้องทำอะไรก็ทำได้ ถ้ามีเหตุให้ทำก็ทำไป แต่จะไม่หาเหตุมาทำ เพื่อหนีความเบื่อหน่าย เพราะไม่มีความเบื่อหน่ายที่จะต้องหนี นี้แหละเป็นความสุขที่แท้จริง ความสุขที่จะทำให้หยุดความอยากต่างๆได้ จึงต้องสร้างความสุขใจกัน ด้วยการปล่อยวางความสุขที่ไม่ใช่ความสุขใจ ต้องปล่อยวางลาภยศสรรเสริญ ปล่อยวางความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ด้วยการทำทาน สละลาภยศสรรเสริญ สละความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย อย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงปฏิบัติ ทรงสละราชสมบัติ สละความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็ออกบวช สละความอยากที่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น สละความอยากฆ่าผู้อื่น อยากลักทรัพย์ อยากประพฤติผิดประเวณี อยากโกหกหลอกลวง อยากเสพสุรายาเมาและอบายมุขทั้งหลาย ต้องสละต้องรักษาศีลให้ได้ แล้วก็มาสละความคิดที่คิดอยู่ทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ความคิดที่ไม่เป็นประโยชน์กับใจ ทำให้ใจฟุ้งซ่าน ทำให้หิวทำให้อยาก ด้วยการเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จะได้ไม่คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถ้าใช้พุทโธเป็นอารมณ์ ก็บริกรรมพุทโธๆไป

 

ถ้าใช้ร่างกายเป็นอารมณ์ ก็เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายไปทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ทุกอิริยาบถ ทุกขณะ พอตื่นขึ้นมาลืมตา ก็ดูว่าร่างกายทำอะไร ลุกขึ้นมายืน กำลังยืน กำลังเดิน กำลังเดินไปเข้าห้องน้ำ กำลังจะล้างหน้า อาบน้ำ ทำกิจต่างๆ แต่งเนื้อแต่งตัว ทำอาหาร รับประทานอาหาร เดินทางไปทำงาน ไปทำภารกิจต่างๆ ให้ใจเฝ้าดูร่างกายอย่างเดียว ไม่ให้ไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ ยกเว้นเฉพาะเรื่องที่จำเป็นจะต้องคิดจริงๆเท่านั้น เช่นต้องคิดว่าวันนี้ต้องไปทำอะไรบ้าง พอรู้แล้วว่าต้องทำอะไร ก็ไปทำ เวลาทำก็เฝ้าดูการกระทำของร่างกายไป ถ้านั่งอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร ก็หลับตาแล้วดูลมหายใจเข้าออกไป อย่าคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถ้ามองไปทางซ้ายมองไปทางขวา ก็จะมีอารมณ์กับสิ่งที่เห็น เอามาคิดมาปรุงแต่ง ทำให้ไม่สบายอกไม่สบายใจ เกิดความโลภเกิดความอยาก เช่นนั่งรถเห็นป้ายโฆษณาสินค้าก็อยากได้ เห็นคนขับรถไม่มีมารยาทก็อารมณ์เสีย อย่าไปดูสิ่งเหล่านี้ มาดูลมหายใจเข้าออกดีกว่า

 

เวลาเดินทางไปทำงาน ถ้าไม่ต้องขับรถ นั่งเฉยๆ ก็นั่งหลับตาดูลมหายใจไป จะไปถึงที่ทำงานอย่างรวดเร็ว จะไม่รู้สึกว่าช้าเลย ถึงแม้รถจะติดเป็นชั่วโมงก็รู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว เพราะใจไม่มีความอยากจะให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง ใจเฉยๆ ถึงเมื่อไหร่ก็ถึงเมื่อนั้น ถ้าใจไม่มีความอยากให้ไปถึงตามเวลาที่ต้องการ ไปถึงช้าหรือไปถึงเร็วก็จะไม่เป็นปัญหา นั่งหลับตาเฝ้าดูลมหายใจเข้าออกจนไปถึงที่ทำงาน พอลงจากรถก็เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายต่อไป กำลังเดินไปเปิดประตู พบใครถ้าจำเป็นต้องทักทาย ก็แผ่เมตตา สวัสดี ยิ้มแย้มแจ่มใส สบายดีเหรอ ก็ว่ากันไป พอไม่ให้เสียมารยาท เสร็จแล้วก็เดินต่อไปจนถึงที่ทำงาน เวลาทำงานใจก็อยู่กับการทำงาน ถ้าต้องคิดเรื่องงานเรื่องการ ก็เฝ้าดูความคิด ให้คิดอยู่กับเรื่องงานเรื่องการอย่างเดียว ไม่ให้ไปคิดถึงเรื่องอื่น พอเสร็จแล้ว มีเวลาว่างก็นั่งดูลมต่อ

 

นี่คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน สามารถเจริญได้ตลอดเวลา ถ้าเป็นนักภาวนา ถ้าเจริญสติเป็น จะไม่ไปเสียเวลากับการคุยกับคนนั้นคุยกับคนนี้ วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนั้นวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ แล้วก็เกิดอารมณ์ต่างๆขึ้นมา ใจก็จะไม่นิ่งไม่สงบ จะว้าวุ่นขุ่นมัว แต่ถ้าใจมีสติจดจ่อเฝ้าดูร่างกายตลอดเวลา ไม่ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ใจจะเย็น ใจจะว่าง ใจจะสบาย นี่คือการใช้ร่างกายเป็นอารมณ์ผูกใจ เป็นอารมณ์เพื่อเจริญสติ เรียกว่ากายคตาสติ ถ้าถนัดกับการบริกรรมพุทโธ ก็บริกรรมพุทโธไปทั้งวันเลย ไม่ว่ากำลังทำอะไรก็บริกรรมพุทโธไป ถ้าไม่จำเป็นจะต้องคิดเรื่องงานเรื่องการ หรือเรื่องที่จำเป็นจะต้องคิด ก็บริกรรมพุทโธไป อย่าปล่อยให้คิดเรื่อยเปื่อย คิดเพ้อเจ้อ อยากจะเป็นอย่างนั้นอยากจะเป็นอย่างนี้ อยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ อยากให้คนนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ อย่าไปคิด อยู่กับพุทโธดีกว่า บริกรรมพุทโธๆไป เวลานั่งสมาธิจะสงบอย่างรวดเร็ว ๕ นาที ๑๐ นาทีใจก็รวมได้ รวมแล้วก็จะมีความสุข เบาอกเบาใจ มีความว่าง มีความเย็น มีความอิ่ม มีความพอ เป็นอุเบกขา สักแต่ว่ารู้ แต่ไม่มีความคิดปรุงแต่งให้รับรู้ ไม่มีรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะให้รับรู้ ถ้ามีก็ไม่สนใจ

 

ความสงบนี้มีอยู่ ๒ ลักษณะคือ ๑. สงบแบบรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะหายไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เหลือแต่ตัวรู้ผู้รู้ สักแต่ว่ารู้อยู่ตัวเดียว ๒. รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะยังมีอยู่แต่ใจไม่สนใจ เสียงก็ได้ยิน เวทนาทางร่างกายก็รับรู้ ว่าเจ็บตรงนั้นบ้างปวดตรงนี้ แต่จะไม่รำคาญ ไม่วุ่นวาย ไม่มีอารมณ์กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ปล่อยวางได้ ต่างฝ่ายต่างอยู่ เขาก็อยู่ของเขา เราก็อยู่ของเรา เสียงจะมีก็ปล่อยเขามีไป ร่างกายจะเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ก็ปล่อยเขาเจ็บไป ใจจะเป็นอุเบกขา จะรับรู้เฉยๆ ไม่คิดปรุงแต่ง อยากจะให้ความเจ็บหายไป อยากจะให้เสียงหายไป จะไม่มี พอไม่มีความอยากก็จะไม่มีความทุกข์ ใจก็จะอยู่อย่างสงบ ถ้ามีความอยากขึ้นมาก็จะทนนั่งอยู่ไม่ได้ เช่นอยากให้ความเจ็บของร่างกายหายไป ก็จะเกิดความเจ็บขึ้นมาภายในใจ ที่รุนแรงกว่าความเจ็บของร่างกาย ก็จะนั่งต่อไปไม่ได้ หรืออยากจะให้เสียงหายไป ไม่อยากจะฟัง ก็จะทนนั่งอยู่ไม่ได้ จะต้องลุกเดินหนีไป ให้ห่างไกลจากเสียงนั้น  

 

ถ้ามีความอยากเมื่อไหร่ต่อให้มีสมาธิ ก็สามารถทำลายสมาธิความสงบได้ ถ้ามีสมาธิแล้วอยากจะรักษาความสงบของใจ ก็ต้องใช้ปัญญาสอนใจ ว่าสิ่งต่างๆที่อยากได้ไม่ได้ให้ความสุข อย่าไปอยาก เช่นอยากจะดื่มเครื่องดื่มที่ไม่จำเป็นต้องดื่ม อยากจะลิ้มรสต่างๆ ก็ต้องบอกว่าอย่าดื่มดีกว่า ดื่มแล้วก็จะติด ต้องดื่มอีก เวลาอยากดื่มแล้วไม่ได้ดื่ม ก็จะหงุดหงิดใจ ไม่สบายใจ ถ้าไม่ดื่มได้ ใจก็จะสงบ เป็นอุเบกขา หมายถึงเวลาที่มีสมาธิแล้ว พอเกิดความอยากขึ้นมา มันก็จะกลบอุเบกขาที่มีอยู่ ถ้าหยุดตัณหาได้ อุเบกขาก็จะกลับคืนมา นี่คือวิธีรักษาอุเบกขา รักษาความสงบของใจ หลังจากที่ออกจากสมาธิ ต้องคอยเตือนใจว่าอย่าทำตามความอยาก ความอยากจะทำลายความสงบ ทำลายอุเบกขา สิ่งที่ได้จากการทำตามความอยาก ก็สู้ความสุขที่ได้จากความสงบ ความเป็นอุเบกขาไม่ได้ ดังนั้นเวลาออกมาแล้ว อยากจะเสพรูปเสียงกลิ่นรส ก็ต้องบอกใจว่าอย่าไปเสพ อย่าไปดู อย่าไปฟัง อย่าไปดื่ม อย่าไปรับประทาน ถ้าจะดื่มจะรับประทานก็ต้องดื่มต้องรับประทานด้วยเหตุผล ก็คือถึงเวลาต้องรับประทานค่อยรับประทาน ถึงเวลาดื่มค่อยดื่ม แต่อย่าดื่มด้วยความอยากดื่ม อย่ารับประทานด้วยความอยากรับประทาน

 

ต้องสกัดความอยากทุกรูปแบบ จะได้รักษาความสงบของใจได้ ต่อไปความอยากก็จะหมดกำลังไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะไม่มีหลงเหลืออยู่ภายในใจ ใจก็จะอยู่อย่างสบาย ไม่ต้องใช้ปัญญาแล้ว เพราะความอยากหมดไปแล้ว ปัญญามีไว้เพื่อสกัดความอยาก ปัญญาจะสอนใจว่า ความอยากคือต้นเหตุของความไม่สบายใจ สิ่งที่อยากได้ก็ไม่สามารถให้ความสุขที่ถาวรได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากได้นั้นไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีเกิดมีดับ เวลาได้มาใหม่ๆก็สุข พอเสื่อมไปดับไปหรือเปลี่ยนไปก็จะไม่สุข เช่นเวลาคนที่ให้ความสุขกับเราเปลี่ยนไป เคยดีแล้วก็เปลี่ยนไปเป็นไม่ดี เราจะได้รับความสุขจากเขาหรือเปล่า นี่ก็คือการใช้ปัญญาหลังจากที่ออกจากสมาธิ เพื่อจะได้รักษาความสุข ที่เกิดจากความสงบให้อยู่อย่างถาวร

 

พอไม่มีความอยากมาทำลายความสงบแล้ว ก็ไม่ต้องใช้ปัญญาอีกต่อไป เพราะนิโรธคือความดับของความทุกข์ ได้ดับอย่างถาวรแล้ว เพราะไม่มีความอยากมาลบล้างความสงบของใจ เพราะมีปัญญาคอยควบคุมความอยากอยู่ตลอดเวลา นี่แหละคือการปล่อยวาง เพื่อจะได้ความสุขที่แท้จริง ที่มีอยู่ในใจ ต้องปล่อยวางลาภยศสรรเสริญ ปล่อยวางความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ปล่อยวางการทำร้ายผู้อื่นเบียดเบียนผู้อื่น ปล่อยวางความคิดปรุงแต่งต่างๆ ปล่อยวางความอยาก พอปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้หมดแล้ว ใจก็จะสงบอย่างถาวร นี่คือความรู้ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ แล้วนำเอามาเผยแผ่สั่งสอนให้แก่พวกเรา

 

ถ้าปฏิบัติตามได้ก็จะได้รับผล คือความสุขที่ถาวร ที่เรียกว่านิพพานัง ปรมังสุขัง นิพพานังคืออะไร ก็คือการไม่มีความอยากนั่นเอง ใจที่ไม่มีความอยากก็คือใจที่เป็นนิพพาน พอไม่มีความอยาก ก็จะเป็นปรมังสุขัง เป็นบรมสุข เป็นความสุขที่ถาวร ไม่มีวันหมดไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่มากระทบกระเทือนกับใจเลย เพราะใจได้ปล่อยวางทุกอย่างแล้ว ได้ปล่อยวางลาภยศสรรเสริญ ปล่อยวางความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ปล่อยวางความคิดปรุงแต่ง ปล่อยวางความอยากต่างๆ ปล่อยวางร่างกาย ปล่อยวางเวทนาความรู้สึก คือความสุข ความทุกข์ ความไม่สุขไม่ทุกข์ของร่างกาย ปล่อยวางได้หมด ไม่ทุกข์อีกต่อไป ร่างกายจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป เวทนาจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป ลาภยศสรรเสริญจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป ตาหูจมูกลิ้นกายจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป ถ้าจะรักษาก็รักษาไปตามเหตุตามผล รักษาได้ก็รักษาไป รักษาไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามความเป็นจริง แต่ใจจะไม่วุ่นวายกินไม่ได้นอนไม่หลับ กับการดูแลรักษาสิ่งต่างๆ เพราะไม่สามารถจะรักษาได้ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องแปรเปลี่ยนไปหมด ทุกสิ่งทุกอย่างที่เจริญสักวันหนึ่งก็ต้องเสื่อมหมดไป ศาลาหลังนี้สักวันหนึ่งก็ต้องเสื่อมหมดไป เหมือนกับกรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัย ที่สวยงามและยิ่งใหญ่ พอถึงเวลาก็ต้องเสื่อมหมดไป

 

ร่างกายของพวกเราก็เช่นเดียวกัน ไม่นานก็จะเสื่อมหมดไป กลายเป็นเศษกระดูกเศษขี้เถ้า ที่สัปเหร่อจะเก็บให้ญาติพี่น้อง หลังจากที่ได้ทำฌาปนกิจแล้ว นี่คือความจริงที่ต้องมองกัน เพื่อจะได้ปล่อยวาง จะได้ตัดไม่ยึดไม่ติด ไม่หลงไปคิดว่าเป็นของเราเป็นตัวเรา ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ใช่ของเรา ของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของดินน้ำลมไฟ ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากธาตุ ๔ มารวมกันเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นต้นไม้เป็นวัตถุต่างๆ เป็นข้าวของต่างๆ รวมกันได้สักระยะหนึ่งก็ต้องแยกจากกันไป เป็นอนิจจังไม่เที่ยง เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน ไม่มีเจ้าของ เป็นดินน้ำลมไฟ อย่าไปยึดอย่าไปติด อย่าไปอยากได้อยากมี เพราะจะทำให้ทุกข์ใจ เวลาอยากได้อะไร ใจก็จะกระวนกระวาย ได้มาแล้วก็กระวนกระวาย กลัวว่าจะจากไป เวลาจากไปก็เศร้าโศกเสียใจอาลัยอาวรณ์ เราสร้างความทุกข์ขึ้นมาเอง ด้วยความอยากของเรา ด้วยความหลงของเรา ไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆที่อยากได้นั้นเป็นทุกข์ ไม่รู้วิธีดับความทุกข์ แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าอยู่ที่การทำทาน รักษาศีล สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา ทำไมไม่ทำกัน ถ้าทำแล้วรับรองได้ว่า จะไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่ภายในใจ เพราะพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายได้ทำมาแล้ว ใจของท่านจึงไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่เลย เพราะได้เจริญทานศีลภาวนาอย่างเต็มที่ พวกเราก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน ถ้าเจริญทานศีลภาวนาอย่างเต็มที่ จึงขอฝากเรื่องของการเจริญทานศีลภาวนา เรื่องของการปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ด้วยปัญญา ว่าไม่มีอะไรเป็นของเรา ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ที่จะอยู่กับเราไปตลอด มีสิ่งเดียวที่จะอยู่กับเราไปตลอด ก็คือความสงบของใจ ที่เกิดจากการหยุดความคิด หยุดความอยากต่างๆ ให้พวกเรานำเอาไปพิจารณาและปฏิบัติกัน

 

การได้ยินได้ฟังผลของการปฏิบัติ จากผู้ที่ได้ผลมาแล้วนี้ จะทำให้ผู้ที่ยังไม่ได้ผลเกิดกำลังใจ อย่างเวลาครูบาอาจารย์แสดงธรรม เล่าถึงผลของการปฏิบัติของท่าน ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจ หลังจากฟังเทศน์ฟังธรรมไปแล้ว มีกำลังใจที่จะภาวนา กลับไปเดินจงกรมไปนั่งสมาธิต่อได้หลายชั่วโมง ปกติมักจะนอนกัน แต่วันไหนได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ใจจะกระปรี้กระเปร่ากระฉับกระเฉง เหมือนกับเอานิพพาน เอาผลของการปฏิบัติมายื่นให้กับเรา อยู่ตรงนี้เอง หยิบไปสิ เดินจงกรมนั่งสมาธิไปสิ เดี๋ยวผลก็จะมาเอง คอยควบคุมใจ อย่าปล่อยให้ลอยไปลอยมา อย่าปล่อยให้คิดเรื่อยเปื่อย ให้อยู่กับพุทโธ ให้อยู่กับร่างกาย ถ้าอยู่ได้แล้วก็จะรวมเข้าสู่ความสงบ พอสงบแล้วก็จะมีกำลังต่อสู้กับตัณหาความอยาก มีกำลังพิจารณาอนิจจังทุกขังอนัตตา พิจารณาอริยสัจ ๔ พิจารณาทุกข์ที่เกิดจากสมุทัยคือตัณหาความอยาก นิโรธที่เกิดจากมรรค มรรคคือการพิจารณาให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ก็จะหยุดความอยากดับความทุกข์ได้

 

อริยสัจ ๔ นี้อยู่ในใจของพวกเรา ส่วนใหญ่จะเป็นแต่ทุกข์กับสมุทัย เพราะใจจะคิดแต่เรื่องของความอยาก อยากได้นั่นอยากได้นี่ อยากจะไปนั่นอยากจะไปนี่ อยากจะดูอยากจะฟัง อยากจะเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะตลอดเวลา ไม่เคยคิดไม่อยากเลย ไม่เคยคิดเบื่อกับลาภยศสรรเสริญ เบื่อกับรูปเสียงกลิ่นรส ไม่เคยคิดว่าเป็นความทุกข์เลย ทั้งๆที่มันทุกข์แสนทุกข์ ก็ยังมองไม่เห็นว่ามันทุกข์ เช่นเวลาจะไปเที่ยวสักครั้งหนึ่ง ต้องเตรียมตัวเตรียมการมากน้อยเพียงไร ต้องทำหนังสือเดินทางต้องขอวีซ่า ต้องจองตั๋วเครื่องบินจองที่พัก ต้องตรวจโรค ต้องเสี่ยงภัยกับการเดินทาง ขึ้นแล้วไม่รู้ว่าจะลงแบบไหน เวลาลงแต่ละครั้งก็ท่องพุทโธๆกัน ขอให้ลงดี พอลงปลอดภัยแล้วก็อยากจะขึ้นใหม่อีก ทำไมอยู่เฉยๆไม่ได้ อยู่อย่างปลอดภัยกลับไม่อยู่กัน อยู่ติดดินสบายจะตายไป ชอบไปอยู่บนฟ้ากัน อยู่ยิ่งสูงเวลาตกลงมาก็ยิ่งเจ็บ

 

ต้องพยายามสร้างอิทธิบาท ๔ ขึ้นมา ฉันทะ ความยินดีที่จะภาวนา วิริยะ ความพากเพียรภาวนา จิตตะ ใจจดจ่ออยู่กับการภาวนา วิมังสา จะไม่คิดไปเที่ยวเมืองนอกเมืองนา ไม่คิดไปทำบุญทอดผ้าป่าทอดกฐิน ไปสร้างโบสถ์สร้างเจดีย์ สร้างมาพอแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้ด้วยโบสถ์ด้วยเจดีย์ แต่ตรัสรู้ด้วยการนั่งภาวนาอยู่ใต้ต้นโพธิ์ อยู่ในป่า ปลีกวิเวก อยู่ตามลำพัง ถ้าอยากจะบรรลุธรรมเหมือนกับที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุ ก็ต้องปฏิบัติแบบที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติ ต้องปลีกวิเวก อยู่ในป่าในเขา อยู่ตามโคนไม้ อยู่ตามสถานที่สงบสงัด เดินจงกรมนั่งสมาธิสลับกันไป จนกว่าใจจะสงบ พอออกจากความสงบ ก็ใช้ปัญญาสกัดความอยากต่างๆ ถ้ายังไม่มีความอยาก ก็ซ้อมไว้ก่อนเตรียมไว้ก่อน เช่นความอยากไม่แก่อยากไม่เจ็บอยากไม่ตาย ก็ต้องพิจารณาละร่างกายไปก่อน ว่าร่างกายต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา เวลาอยากจะไม่แก่ก็ใช้ปัญญาสกัดความอยากได้ ว่าห้ามความแก่ไม่ได้ ร่างกายจะแก่เราไปหยุดมันไม่ได้ ถ้าอยากไม่แก่ก็จะทุกข์ใจไปเปล่าๆ ผมจะหงอกก็ปล่อยให้หงอกไป ไม่ต้องย้อม หนังจะเหี่ยวก็ปล่อยให้เหี่ยวไป ไม่ต้องทำศัลยกรรม ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วย รักษาได้ก็รักษาไป รักษาไม่ได้ก็ต้องอยู่กับมันไป เช่นเดียวกับความตาย ถ้าป้องกันได้ก็ป้องกัน ป้องกันไม่ได้จะตายก็ต้องปล่อยให้ตายไป แต่ใจอย่าอยากไม่ตายเป็นอันขาด ถ้าอยากไม่ตายจะทุกข์ทรมานใจ

 

ถ้ายอมรับความจริง ใจจะเฉยๆ ตายก็ได้อยู่ก็ได้ แต่ถ้ายังอยู่แล้วอยากจะตาย อย่างนี้ก็ไม่ถูก เป็นความอยากเหมือนกัน อยากตายก็ไม่ดี อยากไม่ตายก็ไม่ดี ต้องอยู่ตรงกลาง อยู่ระหว่างความอยากตายกับความไม่อยากตาย คืออยู่เฉยๆ เป็นอุเบกขา ปล่อยวาง ร่างกายจะอยู่ก็ปล่อยให้อยู่ไป เช่นเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยรักษาไม่หาย เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ตอนนั้นอยากจะตาย ก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา เพราะยังไม่ตาย เวลาร่างกายจะตายก็ไม่อยากตาย อย่างนี้ก็ทุกข์อีก ต้องปล่อยวาง ถึงเวลาจะตายก็ต้องปล่อยให้ตายไป ถึงเวลาอยู่ก็ต้องปล่อยให้อยู่ไป แล้วใจจะไม่ทุกข์ ใจไม่ได้เป็นร่างกาย ไปทุกข์กับร่างกายทำไม เหมือนกับไปทุกข์กับคนอื่นทำไม คนอื่นจะเป็นจะตาย ทำไมต้องวุ่นวายไปกับเขาด้วย ใจเราไม่ได้เป็นไม่ได้ตายไปกับเขาเลย ใจไม่มีวันตาย ใจได้ร่างกายที่เป็นเหมือนตุ๊กตาตัวหนึ่ง ใจก็เลี้ยงดูตุ๊กตาไป พาไปโน่นพามานี่ พาไปเที่ยว ถ้าไม่มีร่างกายก็ไปเที่ยวไม่ได้ ถ้าไม่มีความอยากเที่ยวแล้ว จะมีหรือไม่มีร่างกายก็จะไม่เป็นปัญหา

 

ถ้าไม่มีความอยากจะใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข ร่างกายจะเป็นอย่างไรก็ไม่เป็นปัญหา จะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตก็เป็นไป หลวงปู่ชอบต้องนั่งรถเข็นท่านก็ไม่เห็นเดือดร้อน ท่านก็อยู่กับมันไป เข็นท่านไปไหนท่านก็ไป ไม่เข็นท่านก็ไม่ไป ท่านอยู่ตามอัตภาพ ใจท่านไม่ได้ใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข ท่านไม่ได้ไปหาความสุข ท่านไปโปรดสัตว์ ไปเผยแผ่ธรรมะ ไปสั่งสอนธรรมะให้แก่ผู้อื่น แต่พวกเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเราไม่ได้ไปโปรดสัตว์ เราไปโปรดตัวเราเอง ไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายกัน พอร่างกายไม่สามารถไปได้ ก็หงุดหงิดเศร้าสร้อยหงอยเหงา อยากจะตายไม่อยากจะอยู่ พออยากจะตายก็ทุกข์อีก ทุกข์ซ้ำซ้อน ทุกข์ที่ร่างกายแล้วยังต้องมาทุกข์ที่ใจอีก ถ้าไม่มีความอยากตาย เวลาร่างกายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบาย ใจจะเฉยๆ ไม่เดือดร้อน เหมือนกับไม่ได้เป็นอะไร เวลาร่างกายปกติก็เฉย เจ็บไข้ได้ป่วยก็เฉย เพราะปฏิบัติรักษาใจให้เฉยได้ ด้วยการนั่งสมาธิ ด้วยการเจริญปัญญานี่เอง

 

เป้าหมายของการปฏิบัติก็คือรักษาความเฉย ความเป็นอุเบกขา ความสงบของใจนี่เอง นิพพานก็คือความสงบของใจ เป็นความสงบที่ถาวร ความสงบระดับอื่นยังไม่ถาวร ความสงบระดับสมาธิไม่ถาวร เพราะต้องออกจากสมาธิ ความสงบของพระโสดาบันก็ยังไม่เต็มร้อย พระโสดาบันสงบกับเรื่องความแก่ความเจ็บความตายของร่างกาย แต่ยังไม่สงบกับเรื่องของกามารมณ์ พระโสดาบันพระสกิทาคามียังวุ่นวายกับเรื่องกามารมณ์อยู่ เวลาเห็นรูปร่างหน้าตาสวยงามเกิดกามารมณ์ แต่พระอนาคามีไม่วุ่นแล้ว ท่านเห็นร่างกายทีไร ก็เห็นว่าไม่สวยงาม เพราะเห็นส่วนที่ไม่สวยงาม เห็นตอนที่ร่างกายตายไป เห็นอาการ ๓๒ เห็นอวัยวะต่างๆที่ซ่อนอยู่ภายใต้ผิวหนัง ท่านจึงไม่กระวนกระวายกระสับกระส่ายกับเรื่องกามารมณ์ ไม่วุ่นวาย ใจของท่านสงบ ไม่ว่าจะเป็นความแก่ความเจ็บความตาย ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของร่างกาย จะไม่ทำให้ใจของพระอนาคามีไม่สงบ เพราะไม่มีความอยากไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ไม่มีความอยากทางกามารมณ์

 

ส่วนพระอรหันต์นี้ท่านกำจัดความหลงในอัตตาตัวตนได้ ท่านไม่หลงว่าท่านมีตัวมีตน ท่านเป็นตัวรู้ ใครจะด่าก็รับรู้ ใครจะชมก็รับรู้ ไม่มีตัวตนมารับรู้ เหมือนกล้องถ่ายรูป ใครจะยิ้มใส่กล้อง ใครจะด่าจะหน้าบึ้งตึงใส่กล้อง กล้องก็ถ่ายหมด แต่ใจของผู้ที่ยังมีอัตตาตัวตนจะรับไม่ได้ เวลาเห็นหน้าบึ้งตึงดูถูกเหยียดหยาม ใจจะโกรธแค้น เพราะยังมีอัตตาตัวตนอยู่ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ทำตัวเป็นเหมือนปฐพี เป็นเหมือนดิน ใครจะเหยียบย่ำ อุจจาระปัสสาวะใส่ ปฐพีไม่เดือดร้อน ใจก็ต้องเป็นอย่างนั้น ใครจะดูถูกเหยียดหยาม ทำร้ายทำลายอย่างไร ก็ไม่เดือดร้อน จะเฉยๆ ไม่ถือตัว เพราะไม่มีตัวตนจะถือ มีแต่ตัวรู้ ก็รู้ไป สักแต่ว่ารู้ ดังที่ทรงสอนชายคนหนึ่ง ที่ขอพระพุทธเจ้าให้สอนธรรมะในขณะที่ทรงบิณฑบาตอยู่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเวลานี้ไม่ใช่เวลาสอน เขาก็ขอให้สอนแบบสั้นๆ สอนแบบสรุป

 

ก็ทรงตรัสสอนว่าให้รู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ เห็นอะไรก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินอะไรก็สักแต่ว่าได้ยิน อย่าไปคิดปรุงแต่ง ว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นเราเป็นเขา ไม่ต้องปรุงแต่ง ให้รับรู้เฉยๆ เขาก็เข้าใจความหมาย จึงขออนุญาตไปเตรียมอัฐบริขาร เพื่อจะได้บวช ไปกลางทางถูกกระทิงขวิดตาย พระพุทธเจ้าทรงทราบ ก็ให้ฌาปนกิจแล้วสร้างสถูปบรรจุอัฐิของเขาไว้ การสร้างสถูปบรรจุอัฐิแสดงว่า ต้องเป็นบุคคลสำคัญ สมัยก่อนจะสร้างสถูปหรือเจดีย์ก็เพื่อพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระมหาจักรพรรดิ แสดงว่าชายคนนั้นได้เข้าถึงธรรมะ เข้าถึงตัวรู้ แหวกม่านของอวิชชาโมหะ ที่หลอกให้คิดว่าตัวรู้เป็นตัวเราของเรา ตัวรู้เป็นเพียงตัวรู้ ไม่ได้เป็นตัวเราของเรา รู้เฉยๆ ไม่มีเรารับรู้ ถ้ามีก็จะดีใจเสียใจกับสิ่งที่รับรู้ ต้องรับรู้แบบกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายรูปไม่มีตัวมีตน ถ่ายภาพอย่างเดียว ใครจะทำหน้าอย่างไรใส่กล้อง ก็ถ่ายหมด ไม่เลือก ไม่เหมือนใจที่มีอัตตาตัวตน จะมองแต่คนที่ยิ้ม คนหน้าบึ้งจะไม่มอง

 

นี้คือการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงตัวรู้ เข้าถึงธาตุรู้ เข้าถึงของจริงของแท้ รู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ ก็ต้องทำใจให้สงบ ต้องระงับความคิดปรุงแต่ง แล้วจะพบกับความสุขที่แท้จริง ความสุขที่ไม่มีเจริญไม่มีเสื่อม ความสุขที่อยู่คู่กับผู้รู้ ที่หมดความอยาก ต้องปฏิบัติเท่านั้นถึงจะรู้ได้ ถ้าปฏิบัติก็จะบรรลุ จะรู้เฉยๆตลอดเวลา ไม่มีความอยากไปไหน อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ เหลือแต่หน้าที่เลี้ยงดูร่างกายไปตามอัตภาพ เลี้ยงได้ก็เลี้ยงไป เลี้ยงไม่ได้ก็อดตายไป ก็จบ แต่ใจไม่วุ่นวายกับเรื่องการเลี้ยงดูร่างกาย ไม่วุ่นวายกับการไปไหนมาไหน เพราะไม่มีความอยาก  

 

ถาม  ทีวีที่บ้านเสีย ไม่กล้าซื้อเครื่องใหม่ กลัวพระอาจารย์ดุ

 

ตอบ  ถ้าเสียก็ทิ้งไปเลย ไม่ต้องซ่อม เป็นข้อสอบ จะปล่อยวางรูปเสียงกลิ่นรสได้หรือเปล่า ถ้ายังทำไม่ได้ จะไปทำอะไรได้

 

ถ้าปล่อยวางกามฉันทะไม่ได้ เวลานั่งสมาธิใจจะไม่สงบ เพราะกามฉันทะเป็นนิวรณ์ เป็นกำแพงขวางกั้นความสงบ จะเข้าสู่ความสงบได้จะต้องทำลายกำแพง คือนิวรณ์ที่มีอยู่ ๕ ประการ คือ ๑. กามฉันทะ ความยินดีในกามารมณ์ ๒. พยาบาท ความโกรธ ไม่พอใจ ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่มั่นใจกับการปฏิบัติ ว่าจะได้ผลจริงหรือไม่ ต้องไม่มีความลังเล ต้องเชื่อว่าภาวนาแล้วจะต้องสงบแน่ ถ้าเจริญสติบริกรรมพุทโธต้องสงบแน่ กามฉันทะก็ต้องตัดไป ไม่ดูหนังฟังเพลง ถือศีล ๘ ไป ไม่ใช่เฉพาะวันพระ ทุกวันเลยสำหรับนักปฏิบัติ เป็นนักบวชทางใจ ถ้าบวชนุ่งเหลืองห่มเหลืองไม่ได้ ก็บวชทางใจไป อย่างน้อยก็ต้องถือศีลของนักบวชคือศีล ๘ ที่ให้ถือวันพระก็เพื่อเป็นการชิมไปก่อน พอชิมไปแล้วรู้ว่าเอร็ดอร่อย ก็อยากจะรักษาไปเรื่อยๆ จากวันเดียวกลายเป็น ๗ วัน เป็นนิจศีลไป เพื่อกำจัดกามฉันทะ ถ้าถือศีล ๘ ก็จะดูหนังดูละครไม่ได้ ฟังเพลงไม่ได้ ไปเที่ยวตามสถานบันเทิงต่างๆไม่ได้ เป็นวิธีกำจัดกามฉันทะ

 

ส่วนความสงสัยก็ต้องฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ ฟังเรื่องผลที่เกิดจากการปฏิบัติ ว่ามีจริง ภาวนาแล้วจิตสงบจริง ดับความทุกข์ได้จริง หลุดพ้นได้จริง จากการภาวนา ถ้าฟังแล้วจะไม่สงสัย จะทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการภาวนา ส่วนความง่วงเหงาหาวนอน ถ้าถือศีล ๘ ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง รับประทานอาหารพอประมาณ ไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว ถ้ารับประทานอาหารเย็นจะง่วงมาก ถึงเวลาภาวนาก็อยากจะนอน ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเย็นท้องจะว่าง พอจะนั่งภาวนาได้ ถ้ายังง่วงอยู่ก็ต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้น ก็คืออดอาหาร หรือไปภาวนาที่ที่น่ากลัว ไปแถวเมรุแถวป่าช้า เวลามีความกลัวจะไม่ง่วง แต่ต้องมีสติควบคุมความกลัวได้ เวลาเกิดความกลัวต้องบริกรรมพุทโธ หรือเจริญพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติได้ ถ้าเจริญได้อย่างต่อเนื่องจิตก็จะสงบ ความกลัวก็จะหายไป

 

ส่วนความฟุ้งซ่าน ก็ต้องเจริญสติ บริกรรมพุทโธๆไป สกัดความคิดปรุงแต่ง ถ้าบริกรรมพุทโธก็จะคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ได้ ถ้าคิดไม่ได้ก็จะไม่ฟุ้งซ่าน จะสงบ ถึงแม้จะไม่สงบเต็มที่ ก็จะว่างจะเย็นจะสบาย จะคิดบ้างแต่คิดไม่มาก เหมือนกับตอนที่ไม่มีพุทโธ แบ่งกันคนละครึ่งก็ยังดี พุทโธครึ่ง คิดครึ่งก็ยังดี เหมือนกับรถที่วิ่งลงเขา ถ้ามีเบรกคอยเบรกไว้เรื่อยๆ ก็จะไม่วิ่งเร็วจนเกินไป ถ้ามีพุทโธคอยสกัดอยู่เรื่อยๆจะไม่ฟุ้งซ่าน ถึงแม้จะคิดบ้างก็จะไม่คิดฟุ้งซ่านแบบไม่มีเบรก ถ้าอยากกำจัดนิวรณ์คือความฟุ้งซ่าน ก็ต้องเจริญสติ บริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ

 

ส่วนความโกรธ ไม่พอใจ ก็ต้องแผ่เมตตา ต้องให้อภัย ไม่เอาเรื่องเอาราว จองเวรจองกรรม โดยพิจารณาว่าสิ่งที่เขาพูดสิ่งที่เขาทำ เราห้ามไม่ได้ แต่เราห้ามใจของเราได้ อย่าไปอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็จะไม่โกรธเวลาที่เขาทำอะไร นี่คือนิวรณ์ ๕ ประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำใจให้สงบ พระพุทธเจ้าจึงต้องมีมาตรการให้พวกเราเจริญกัน เช่นรักษาศีล ๘ หาที่อยู่ที่สงบสงัด ที่น่ากลัว เจริญสติอย่างต่อเนื่อง รับประทานอาหารพอประมาณ ไม่รับประทานมากจนเกินไป แล้วก็ฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ ฟังธรรมปฏิบัติ ฟังธรรมที่เกี่ยวกับการภาวนา ทั้งส่วนที่เป็นเหตุและส่วนที่เป็นผล ฟังแล้วก็จะไม่สงสัยว่า มรรคผลนิพพานมีจริงหรือไม่ ผลที่เกิดจากสมาธิมีจริงหรือไม่ จะไม่สงสัย จะทำด้วยความมั่นใจว่า ถ้าทำเหตุที่ถูก ผลที่ถูกก็จะต้องปรากฏตามมาอย่างแน่นอน ตอนนี้ปัญหาอยู่ที่เหตุ เหตุยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ กำลังตั้งไข่ ยังไม่คลอด ต้องพยายามเจริญเหตุ คือเจริญสติ กำจัดนิวรณ์ รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ควบคุมความโกรธด้วยการให้อภัย แล้วความสงบก็จะปรากฏขึ้นมาอย่างแน่นอน 

 

อยู่ที่ตัวเรา ไม่ได้อยู่ที่ใคร พระพุทธเจ้า พระอริยสาวก ครูบาอาจารย์ ท่านทำหน้าที่ของท่านแล้ว ท่านปฏิบัติแล้ว ท่านบรรลุแล้ว ท่านสั่งสอนแล้ว เราต้องเอาไปปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนรับยาจากหมอแล้วไม่รับประทานยา เมื่อไม่รับประทานยาโรคที่เป็นอยู่ก็จะไม่หาย โรคที่เราเป็นกันอยู่ก็คือโรคใจ คือความทุกข์ใจไม่สบายใจ ความเครียด ความฟุ้งซ่าน ต้องรับประทานยาที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้ ก็คือทานศีลภาวนา แต่เรารับประทานไม่ครบกัน รับประทานเพียงบางอย่าง รับประทานยาที่มีรสหวาน ยาขมไม่รับประทานเลย จะทำแต่ทานอย่างเดียว ศีล ๘ ไม่เอา ภาวนาไม่เอา ปลีกวิเวกไม่เอา โรคจึงไม่หาย ต้องรับประทานให้ครบสูตร ทานศีลภาวนาเป็นยา ๓ ชนิด ที่พวกเราต้องรับประทานกัน อย่าเอาแต่ทำทานเพียงอย่างเดียว

 

ถาม  จะเห็นตัวรู้หรือผู้รู้ได้อย่างไร

 

ตอบ  เวลาจิตรวมเป็นหนึ่งก็จะเห็นตัวรู้ จะรู้ว่าต้องรู้เฉยๆ เป็นอุเบกขา ถ้าเข้าไม่ถึงตัวรู้ก็จะคิดว่าเป็นตัวเรา จะมีปฏิกิริยากับทุกสิ่งทุกอย่างที่ใจไปสัมผัสรับรู้ สิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจก็ต้องกำจัด ถ้าสักแต่ว่ารู้ก็จะเฉยๆ เพราะการรู้เฉยๆจะสบายกว่า การไปต่อสู้ไปตอบโต้จะเหนื่อยไปเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ต่อให้ชนะคนอื่นเป็นหมื่นเป็นแสน ก็สู้ชนะใจไม่ได้ ชนะใจที่อยากจะไปต่อสู้ ให้รู้เฉยๆ ให้ปล่อยวาง จะเห็นตัวรู้ได้จิตต้องรวม

กัณฑ์ที่ ๔๕๕

ต้องหยุดความอยาก

๒๑ เมษายน ๒๕๕๖

 

 

 

ปัญหาของพวกเราก็คือความอยาก อยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พอไม่เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็จะพยายามหาวิธีทำให้เป็นไปตามความอยาก พอเป็นแล้วก็เท่านั้น ไม่ได้แก้ปัญหาคือความอยาก ไม่ได้ทำให้ความอยากหมดไป พอได้สิ่งที่อยากได้แล้ว ความอยากก็จะโผล่ขึ้นมาอีก อยากได้อีก ก็จะอยากไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหมดปัญหา เพราะเวลาอยากได้อะไร ก็ต้องมีปัญหามีอุปสรรค กว่าจะแก้ปัญหาฟันฝ่าอุปสรรคได้ ก็จะเสียเวลาเสียเงินทองไปโดยใช่เหตุ เพราะไม่ได้แก้ปัญหา กลับสร้างปัญหาขึ้นมาอีก เพราะจะมีความอยากอีก เพราะเบื่อกับของที่ได้มา อยากได้ของที่ยังไม่ได้ ถ้าไม่หยุดความอยาก ความอยากจะไม่มีวันหมดไป ความทุกข์ต่างๆก็จะไม่มีวันหมด วิธีแก้ปัญหาที่แท้จริงก็คือต้องหยุดความอยาก ถ้าหยุดความอยากได้แล้ว ปัญหาต่างๆก็จะหมดไป เหตุที่ทำให้อยาก ก็เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่อยากได้นั้น ไม่ได้แก้ปัญหา ไม่ได้ทำให้ใจอิ่มพอ ไม่ว่าจะเป็นลาภยศสรรเสริญ เป็นความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย จะไม่สามารถให้ความอิ่มความพอแก่ใจได้ ต่อให้ได้มามากน้อยเพียงไรก็ตาม ความพอจะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้หยุดความอยาก ได้เงินมาร้อยล้านก็ยังไม่พอ ได้พันล้านก็ยังไม่พอ ได้แสนล้านก็ยังไม่พอ ยังอยากอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่อยากได้เงินก็อยากจะได้อย่างอื่น ได้เงินมากแล้วก็อยากจะได้เกียรติยศ พอได้ลาภแล้วก็อยากจะได้ยศ รวยแล้วก็อยากจะเป็นคุณหญิงเป็นคุณนาย อยากเป็นรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานาธิบดี จะอยากไปเรื่อยๆ

 

ดังที่เคยพูดไว้ ตอนต้นก็อยากจะอยู่ดีกินดี ไม่อดอยากขาดแคลน พออยู่ดีกินดีแล้ว ก็อยากจะร่ำรวย พอรวยแล้วก็อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากมีเกียรติ มีชื่อเสียงมีหน้ามีตา พอมีแล้วก็อยากจะมีไปนานๆ ไม่อยากให้เสื่อมหมดไป เวลาตายไปก็อยากจะไปสวรรค์ จะอยากต่อไปเรื่อยๆไม่มีวันสิ้นสุด ถ้ายังมีความอยากก็ยังมีความหิว มีความต้องการ มีความไม่พอ ก็จะไม่มีความสุข ต้องหยุดความอยาก เพราะถ้าหยุดความอยากได้ ความอิ่มความพอก็จะเกิดขึ้น พวกเราไม่รู้ความจริงนี้ ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ แล้วนำเอาความจริงนี้มาเผยแผ่ มาบอกพวกเรา พวกเราจะไม่มีวันรู้ได้ ก็จะหลงอยู่กับการหาลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็ต้องมาทุกข์กับความเสื่อมของลาภยศสรรเสริญ ของความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย เช่นเวลาสูญเสียสิ่งที่รักไป สูญเสียบุคคลที่รักไป ก็จะเศร้าโศกเสียใจ ในขณะที่เราอยู่กับสิ่งที่รักกับบุคคลที่รัก ก็จะมีความห่วงใย มีความวิตกกังวล กลัวว่าจะจากไป เวลาไม่มีสิ่งที่รักบุคคลที่รัก ก็อยากจะมี

 

พออยากจะมีก็อยู่ไม่เป็นสุข ต้องดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่รักสิ่งที่ชอบ บุคคลที่รักบุคคลที่ชอบ เพราะใจมีแต่ความอยาก จึงผลักดันให้ไปหาสิ่งต่างๆ ความอยากเกิดจากความหลง เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นความทุกข์ว่าเป็นความสุข เห็นลาภยศสรรเสริญ เห็นความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายว่าเป็นสุข แต่ความจริงแล้วเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เจริญอย่างเดียว เจริญแล้วก็เสื่อมด้วย เกิดแล้วก็ดับ มาแล้วก็ไป มองไม่เห็นส่วนที่เสื่อม ส่วนที่ดับ ส่วนที่จากไป เวลาเห็นสิ่งที่อยากได้ จะไม่คิดว่าจะจากไป จะเสื่อม จะเปลี่ยนไป นี่คือความหลง ที่จะหลอกให้วิ่งเข้าหาความทุกข์ เพราะไม่เห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เห็นความเสื่อมของสิ่งต่างๆ ไม่รู้ว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะให้ความสุขได้อย่างแท้จริง ไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ถ้าไม่ได้พบพระพุทธศาสนา ถ้าได้พบก็จะรู้ว่าความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ในใจ อยู่ในตัวเรา อยู่ที่การทำใจให้สงบ ถ้าไม่มีศาสนาก็จะไม่มีใครรู้ คนที่ไม่มีศาสนาจึงไม่คิดที่จะทำใจให้สงบ ไม่รู้ว่าความสุขที่ยิ่งใหญ่ ความสุขที่ดีเลิศ ความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ความสงบของใจ จึงทุ่มเทเวลาให้กับการหาลาภยศสรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ก็เลยต้องอยู่กับกองทุกข์ เวลาที่สิ่งต่างๆเปลี่ยนไป เสื่อมหมดไป นี่คือความหลงของผู้ที่ไม่ได้เข้าหาศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา

 

พระพุทธศาสนารู้ว่า ความสงบสุขของใจเป็นความสุขที่แท้จริง รู้วิธีสร้างความสุขนี้ให้ถึงจุดสูงสุด ที่ไม่มีวันเสื่อม ศาสนาอื่นก็รู้เหมือนกัน แต่ไม่รู้วิธีสร้างความสุขให้ถึงจุดสูงสุด ที่ไม่มีวันเสื่อม รู้เพียงระดับฌานระดับสมาธิ ที่ต้องเสื่อมหมดไป ไม่รู้วิธีสร้างความสงบที่ถาวร ก็คือพระนิพพาน พระนิพพานก็คือใจที่มีความสงบตลอดเวลา สงบอย่างถาวร ที่เกิดจากการกำจัดความอยากทั้งหลายให้หมดไป ด้วยอำนาจของปัญญา ของสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ที่เห็นว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ต้องมีปัญญามีความรู้นี้ จึงจะสามารถกำจัดความอยากต่างๆ ให้หมดไปได้อย่างถาวร

 

ถ้ากำจัดด้วยการเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เช่นกำหนดดูลมหายใจเข้าออก บริกรรมพุทโธๆ เพื่อไม่ให้คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็จะหยุดความอยากได้ชั่วคราว เพราะความอยากต้องใช้ความคิดเป็นเครื่องมือ พอความคิดหยุดทำงานความอยากก็ต้องหยุดทำงาน แต่ไม่ได้หยุดแบบถาวร เวลาออกจากสมาธิมาคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ความอยากก็จะตามมากับความคิดได้ พอคิดถึงคนนั้นคนนี้ก็เกิดความอยากขึ้นมา อยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พอคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็อยากจะให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็จะเกิดความไม่สงบ เกิดความกระวนกระวายกระสับกระส่าย กระตือรือร้น อยู่ไม่เป็นสุข เพราะความอยากไม่ได้หมดไปอย่างถาวรด้วยการหยุดความคิด ความอยากเกิดจากความหลง เห็นผิดเป็นชอบ เห็นว่าได้อะไรแล้วจะได้ความสุข ต้องแก้ความหลงด้วยสัมมาทิฐิ คือรู้พระอริยสัจ ๔ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ ทรงรู้ว่าความอยากได้สิ่งต่างๆนี้แล เป็นต้นเหตุที่ทำลายความสงบของใจ พอความสงบถูกทำลายไป ความสุขก็หายไป ความทุกข์ก็กลับมาแทนที่ ถ้าอยากจะให้ความสงบความสุขกลับมา ก็ต้องหยุดความอยาก

 

การจะหยุดความอยากได้ ก็ต้องรู้ว่าสิ่งที่อยากได้นั้น ไม่สามารถให้ความสุขที่แท้จริงที่ถาวร นอกจากไม่ให้ความสุขแล้วยังให้ความทุกข์ด้วย ลองพิจารณาดู ทุกวันนี้เราทุกข์กับอะไร ทุกข์กับสิ่งที่เรามีไม่ใช่เหรอ สิ่งที่เราไม่มีเราไม่ทุกข์ คนที่มีสามีมีภรรยา ก็จะทุกข์กับสามีทุกข์กับภรรยา คนที่มีลูกก็จะทุกข์กับลูก มีทรัพย์ก็จะทุกข์กับทรัพย์ มียศก็จะทุกข์กับยศ มีความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ก็จะทุกข์กับความเสื่อมของรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ของตาหูจมูกลิ้นกาย ที่ต้องรักษาให้ดีเพื่ออะไร ก็เพื่อจะได้ใช้ตาดูรูป รักษาหูเพื่อจะได้ยินเสียง ที่จะทำให้เราสุข แต่รักษาอย่างไรไม่ช้าก็เร็วก็ต้องเสื่อมหมดไป ตาหูจมูกลิ้นกายไม่เที่ยง ต้องเสื่อมหมดไป รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะที่ได้เสพสัมผัสก็ไม่เที่ยง มาแล้วก็ไป ดูภาพยนตร์เสร็จแล้วก็หมดไป ถ้าอยากจะดูอีกก็ต้องกลับไปดูอีก ถ้าอยากจะฟังก็ต้องกลับไปฟังอีก พอฟังเสร็จก็หายไปหมด ต้องฟังอยู่เรื่อยๆ ดูอยู่เรื่อยๆ ดื่มอยู่เรื่อยๆ รับประทานอยู่เรื่อยๆ ถึงจะมีความสุข

 

นี่คือความทุกข์ของการมีสิ่งต่างๆ มีลาภก็ต้องทุกข์กับลาภ มียศก็ต้องทุกข์กับยศ มีสรรเสริญก็ต้องทุกข์กับการนินทา เวลาได้ยินเสียงสรรเสริญก็มีความสุข พอได้ยินเสียงนินทาก็จะเกิดความทุกข์ มีความสุขกับรูปเสียงกลิ่นรส พอตาหูจมูกลิ้นกายไม่อยู่ในสภาพ ที่จะเสพรูปเสียงกลิ่นรสได้ก็จะทุกข์ เช่นเวลาร่างกายไม่สบาย ไม่สามารถไปดูไปฟังไปดื่มไปรับประทานได้ ตอนนั้นก็มีแต่ความทุกข์ใจ ถ้าไม่ยุ่งเกี่ยวกับลาภยศสรรเสริญ กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ก็จะไม่ทุกข์ ถ้าไม่มีสามีภรรยา ก็จะไม่ทุกข์กับสามีภรรยา ไม่มีลูกก็ไม่ทุกข์กับลูก ไม่มีร่างกายก็ไม่ทุกข์กับร่างกาย มีร่างกายก็ทุกข์กับร่างกาย ทุกข์กับการดูแลรักษาร่างกาย หาอาหารหาน้ำหาอากาศ มาหล่อเลี้ยงร่างกาย ทุกข์กับความแก่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์กับความตายของร่างกาย พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า ทุกข์ย่อมไม่มีกับผู้ไม่เกิดเท่านั้น ถ้าไม่เกิดก็จะไม่ทุกข์กับลาภยศสรรเสริญ กับตาหูจมูกลิ้นกาย จะไม่เกิดได้ก็ต้องมีสิ่งที่ดีกว่า ที่ทำลายความอยากได้ ก็คือความสงบนี้เอง ถ้าเข้าถึงความสงบแล้ว จะหยุดความอยากได้ เพราะความสุขที่ได้จากความสงบ เหนือกว่าความสุขที่ได้จากความอยาก

 

ถ้าได้ความสุขที่เกิดจากความสงบแล้ว เวลาได้ร้อยล้านพันล้านก็จะไม่ตื่นเต้นดีใจแต่อย่างใด เป็นนายกฯเป็นประธานาธิบดี ก็ไม่ตื่นเต้นดีใจ ไปเที่ยวรอบโลก ๓๖๐ ครั้ง ก็ไม่ตื่นเต้นดีใจ อยู่บ้านสบายกว่า ไม่ต้องวุ่นวายกับการทำหนังสือเดินทาง ทำวีซ่า ตรวจโรค ฉีดยาป้องกันโรคภัยต่างๆ จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก วุ่นวายไปหมด ถ้าไม่มีความสงบความสุขภายในใจ จะถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะคิดว่าจะได้ความสุข ได้หลุดพ้นจากความเบื่อหน่าย เวลาอยู่บ้านไม่มีอะไรทำ จะเบื่อหงุดหงิดรำคาญใจ พอจะได้เดินทางไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ใจก็ปรุงแต่งว่าต้องสนุกต้องสุข ดีกว่าอยู่บ้าน อยู่กับความเบื่อหน่าย ก็เลยยอมสู้กับความยากลำบาก ในการทำหนังสือเดินทาง ทำวีซ่า ตรวจโรค ฉีดยา จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก แล้วก็ต้องเสี่ยงภัยกับการนั่งเครื่องบิน ไม่รู้ว่าจะลงมาแบบไหน จะไม่คิดถึงภัย คิดถึงความทุกข์ยากลำบาก เพราะอยากจะหนีจากความเบื่อหน่าย ที่มีอำนาจมากกว่าการไปเสี่ยงภัย ไปวุ่นวายกับการทำอะไรต่างๆ

 

ถ้ามีความสงบแล้วอยู่เฉยๆจะไม่เบื่อหน่าย เพราะความสงบจะระงับความเบื่อหน่าย ระงับทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด มีแต่ความสุขความสบายความเย็น ความเป็นอุเบกขา ไม่ยินดีไม่ยินร้าย อยู่กับเหตุการณ์ต่างๆได้ อยู่เฉยๆก็อยู่ได้ ถ้าต้องทำอะไรก็ทำได้ ถ้ามีเหตุให้ทำก็ทำไป แต่จะไม่หาเหตุมาทำ เพื่อหนีความเบื่อหน่าย เพราะไม่มีความเบื่อหน่ายที่จะต้องหนี นี้แหละเป็นความสุขที่แท้จริง ความสุขที่จะทำให้หยุดความอยากต่างๆได้ จึงต้องสร้างความสุขใจกัน ด้วยการปล่อยวางความสุขที่ไม่ใช่ความสุขใจ ต้องปล่อยวางลาภยศสรรเสริญ ปล่อยวางความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ด้วยการทำทาน สละลาภยศสรรเสริญ สละความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย อย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงปฏิบัติ ทรงสละราชสมบัติ สละความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็ออกบวช สละความอยากที่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น สละความอยากฆ่าผู้อื่น อยากลักทรัพย์ อยากประพฤติผิดประเวณี อยากโกหกหลอกลวง อยากเสพสุรายาเมาและอบายมุขทั้งหลาย ต้องสละต้องรักษาศีลให้ได้ แล้วก็มาสละความคิดที่คิดอยู่ทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ความคิดที่ไม่เป็นประโยชน์กับใจ ทำให้ใจฟุ้งซ่าน ทำให้หิวทำให้อยาก ด้วยการเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จะได้ไม่คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถ้าใช้พุทโธเป็นอารมณ์ ก็บริกรรมพุทโธๆไป

 

ถ้าใช้ร่างกายเป็นอารมณ์ ก็เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายไปทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ทุกอิริยาบถ ทุกขณะ พอตื่นขึ้นมาลืมตา ก็ดูว่าร่างกายทำอะไร ลุกขึ้นมายืน กำลังยืน กำลังเดิน กำลังเดินไปเข้าห้องน้ำ กำลังจะล้างหน้า อาบน้ำ ทำกิจต่างๆ แต่งเนื้อแต่งตัว ทำอาหาร รับประทานอาหาร เดินทางไปทำงาน ไปทำภารกิจต่างๆ ให้ใจเฝ้าดูร่างกายอย่างเดียว ไม่ให้ไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ ยกเว้นเฉพาะเรื่องที่จำเป็นจะต้องคิดจริงๆเท่านั้น เช่นต้องคิดว่าวันนี้ต้องไปทำอะไรบ้าง พอรู้แล้วว่าต้องทำอะไร ก็ไปทำ เวลาทำก็เฝ้าดูการกระทำของร่างกายไป ถ้านั่งอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร ก็หลับตาแล้วดูลมหายใจเข้าออกไป อย่าคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถ้ามองไปทางซ้ายมองไปทางขวา ก็จะมีอารมณ์กับสิ่งที่เห็น เอามาคิดมาปรุงแต่ง ทำให้ไม่สบายอกไม่สบายใจ เกิดความโลภเกิดความอยาก เช่นนั่งรถเห็นป้ายโฆษณาสินค้าก็อยากได้ เห็นคนขับรถไม่มีมารยาทก็อารมณ์เสีย อย่าไปดูสิ่งเหล่านี้ มาดูลมหายใจเข้าออกดีกว่า

 

เวลาเดินทางไปทำงาน ถ้าไม่ต้องขับรถ นั่งเฉยๆ ก็นั่งหลับตาดูลมหายใจไป จะไปถึงที่ทำงานอย่างรวดเร็ว จะไม่รู้สึกว่าช้าเลย ถึงแม้รถจะติดเป็นชั่วโมงก็รู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว เพราะใจไม่มีความอยากจะให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง ใจเฉยๆ ถึงเมื่อไหร่ก็ถึงเมื่อนั้น ถ้าใจไม่มีความอยากให้ไปถึงตามเวลาที่ต้องการ ไปถึงช้าหรือไปถึงเร็วก็จะไม่เป็นปัญหา นั่งหลับตาเฝ้าดูลมหายใจเข้าออกจนไปถึงที่ทำงาน พอลงจากรถก็เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายต่อไป กำลังเดินไปเปิดประตู พบใครถ้าจำเป็นต้องทักทาย ก็แผ่เมตตา สวัสดี ยิ้มแย้มแจ่มใส สบายดีเหรอ ก็ว่ากันไป พอไม่ให้เสียมารยาท เสร็จแล้วก็เดินต่อไปจนถึงที่ทำงาน เวลาทำงานใจก็อยู่กับการทำงาน ถ้าต้องคิดเรื่องงานเรื่องการ ก็เฝ้าดูความคิด ให้คิดอยู่กับเรื่องงานเรื่องการอย่างเดียว ไม่ให้ไปคิดถึงเรื่องอื่น พอเสร็จแล้ว มีเวลาว่างก็นั่งดูลมต่อ

 

นี่คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน สามารถเจริญได้ตลอดเวลา ถ้าเป็นนักภาวนา ถ้าเจริญสติเป็น จะไม่ไปเสียเวลากับการคุยกับคนนั้นคุยกับคนนี้ วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนั้นวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ แล้วก็เกิดอารมณ์ต่างๆขึ้นมา ใจก็จะไม่นิ่งไม่สงบ จะว้าวุ่นขุ่นมัว แต่ถ้าใจมีสติจดจ่อเฝ้าดูร่างกายตลอดเวลา ไม่ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ใจจะเย็น ใจจะว่าง ใจจะสบาย นี่คือการใช้ร่างกายเป็นอารมณ์ผูกใจ เป็นอารมณ์เพื่อเจริญสติ เรียกว่ากายคตาสติ ถ้าถนัดกับการบริกรรมพุทโธ ก็บริกรรมพุทโธไปทั้งวันเลย ไม่ว่ากำลังทำอะไรก็บริกรรมพุทโธไป ถ้าไม่จำเป็นจะต้องคิดเรื่องงานเรื่องการ หรือเรื่องที่จำเป็นจะต้องคิด ก็บริกรรมพุทโธไป อย่าปล่อยให้คิดเรื่อยเปื่อย คิดเพ้อเจ้อ อยากจะเป็นอย่างนั้นอยากจะเป็นอย่างนี้ อยากให้สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ อยากให้คนนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ อย่าไปคิด อยู่กับพุทโธดีกว่า บริกรรมพุทโธๆไป เวลานั่งสมาธิจะสงบอย่างรวดเร็ว ๕ นาที ๑๐ นาทีใจก็รวมได้ รวมแล้วก็จะมีความสุข เบาอกเบาใจ มีความว่าง มีความเย็น มีความอิ่ม มีความพอ เป็นอุเบกขา สักแต่ว่ารู้ แต่ไม่มีความคิดปรุงแต่งให้รับรู้ ไม่มีรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะให้รับรู้ ถ้ามีก็ไม่สนใจ

 

ความสงบนี้มีอยู่ ๒ ลักษณะคือ ๑. สงบแบบรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะหายไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เหลือแต่ตัวรู้ผู้รู้ สักแต่ว่ารู้อยู่ตัวเดียว ๒. รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะยังมีอยู่แต่ใจไม่สนใจ เสียงก็ได้ยิน เวทนาทางร่างกายก็รับรู้ ว่าเจ็บตรงนั้นบ้างปวดตรงนี้ แต่จะไม่รำคาญ ไม่วุ่นวาย ไม่มีอารมณ์กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ปล่อยวางได้ ต่างฝ่ายต่างอยู่ เขาก็อยู่ของเขา เราก็อยู่ของเรา เสียงจะมีก็ปล่อยเขามีไป ร่างกายจะเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ก็ปล่อยเขาเจ็บไป ใจจะเป็นอุเบกขา จะรับรู้เฉยๆ ไม่คิดปรุงแต่ง อยากจะให้ความเจ็บหายไป อยากจะให้เสียงหายไป จะไม่มี พอไม่มีความอยากก็จะไม่มีความทุกข์ ใจก็จะอยู่อย่างสงบ ถ้ามีความอยากขึ้นมาก็จะทนนั่งอยู่ไม่ได้ เช่นอยากให้ความเจ็บของร่างกายหายไป ก็จะเกิดความเจ็บขึ้นมาภายในใจ ที่รุนแรงกว่าความเจ็บของร่างกาย ก็จะนั่งต่อไปไม่ได้ หรืออยากจะให้เสียงหายไป ไม่อยากจะฟัง ก็จะทนนั่งอยู่ไม่ได้ จะต้องลุกเดินหนีไป ให้ห่างไกลจากเสียงนั้น  

 

ถ้ามีความอยากเมื่อไหร่ต่อให้มีสมาธิ ก็สามารถทำลายสมาธิความสงบได้ ถ้ามีสมาธิแล้วอยากจะรักษาความสงบของใจ ก็ต้องใช้ปัญญาสอนใจ ว่าสิ่งต่างๆที่อยากได้ไม่ได้ให้ความสุข อย่าไปอยาก เช่นอยากจะดื่มเครื่องดื่มที่ไม่จำเป็นต้องดื่ม อยากจะลิ้มรสต่างๆ ก็ต้องบอกว่าอย่าดื่มดีกว่า ดื่มแล้วก็จะติด ต้องดื่มอีก เวลาอยากดื่มแล้วไม่ได้ดื่ม ก็จะหงุดหงิดใจ ไม่สบายใจ ถ้าไม่ดื่มได้ ใจก็จะสงบ เป็นอุเบกขา หมายถึงเวลาที่มีสมาธิแล้ว พอเกิดความอยากขึ้นมา มันก็จะกลบอุเบกขาที่มีอยู่ ถ้าหยุดตัณหาได้ อุเบกขาก็จะกลับคืนมา นี่คือวิธีรักษาอุเบกขา รักษาความสงบของใจ หลังจากที่ออกจากสมาธิ ต้องคอยเตือนใจว่าอย่าทำตามความอยาก ความอยากจะทำลายความสงบ ทำลายอุเบกขา สิ่งที่ได้จากการทำตามความอยาก ก็สู้ความสุขที่ได้จากความสงบ ความเป็นอุเบกขาไม่ได้ ดังนั้นเวลาออกมาแล้ว อยากจะเสพรูปเสียงกลิ่นรส ก็ต้องบอกใจว่าอย่าไปเสพ อย่าไปดู อย่าไปฟัง อย่าไปดื่ม อย่าไปรับประทาน ถ้าจะดื่มจะรับประทานก็ต้องดื่มต้องรับประทานด้วยเหตุผล ก็คือถึงเวลาต้องรับประทานค่อยรับประทาน ถึงเวลาดื่มค่อยดื่ม แต่อย่าดื่มด้วยความอยากดื่ม อย่ารับประทานด้วยความอยากรับประทาน

 

ต้องสกัดความอยากทุกรูปแบบ จะได้รักษาความสงบของใจได้ ต่อไปความอยากก็จะหมดกำลังไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะไม่มีหลงเหลืออยู่ภายในใจ ใจก็จะอยู่อย่างสบาย ไม่ต้องใช้ปัญญาแล้ว เพราะความอยากหมดไปแล้ว ปัญญามีไว้เพื่อสกัดความอยาก ปัญญาจะสอนใจว่า ความอยากคือต้นเหตุของความไม่สบายใจ สิ่งที่อยากได้ก็ไม่สามารถให้ความสุขที่ถาวรได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากได้นั้นไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีเกิดมีดับ เวลาได้มาใหม่ๆก็สุข พอเสื่อมไปดับไปหรือเปลี่ยนไปก็จะไม่สุข เช่นเวลาคนที่ให้ความสุขกับเราเปลี่ยนไป เคยดีแล้วก็เปลี่ยนไปเป็นไม่ดี เราจะได้รับความสุขจากเขาหรือเปล่า นี่ก็คือการใช้ปัญญาหลังจากที่ออกจากสมาธิ เพื่อจะได้รักษาความสุข ที่เกิดจากความสงบให้อยู่อย่างถาวร

 

พอไม่มีความอยากมาทำลายความสงบแล้ว ก็ไม่ต้องใช้ปัญญาอีกต่อไป เพราะนิโรธคือความดับของความทุกข์ ได้ดับอย่างถาวรแล้ว เพราะไม่มีความอยากมาลบล้างความสงบของใจ เพราะมีปัญญาคอยควบคุมความอยากอยู่ตลอดเวลา นี่แหละคือการปล่อยวาง เพื่อจะได้ความสุขที่แท้จริง ที่มีอยู่ในใจ ต้องปล่อยวางลาภยศสรรเสริญ ปล่อยวางความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ปล่อยวางการทำร้ายผู้อื่นเบียดเบียนผู้อื่น ปล่อยวางความคิดปรุงแต่งต่างๆ ปล่อยวางความอยาก พอปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้หมดแล้ว ใจก็จะสงบอย่างถาวร นี่คือความรู้ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ แล้วนำเอามาเผยแผ่สั่งสอนให้แก่พวกเรา

 

ถ้าปฏิบัติตามได้ก็จะได้รับผล คือความสุขที่ถาวร ที่เรียกว่านิพพานัง ปรมังสุขัง นิพพานังคืออะไร ก็คือการไม่มีความอยากนั่นเอง ใจที่ไม่มีความอยากก็คือใจที่เป็นนิพพาน พอไม่มีความอยาก ก็จะเป็นปรมังสุขัง เป็นบรมสุข เป็นความสุขที่ถาวร ไม่มีวันหมดไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่มากระทบกระเทือนกับใจเลย เพราะใจได้ปล่อยวางทุกอย่างแล้ว ได้ปล่อยวางลาภยศสรรเสริญ ปล่อยวางความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย ปล่อยวางความคิดปรุงแต่ง ปล่อยวางความอยากต่างๆ ปล่อยวางร่างกาย ปล่อยวางเวทนาความรู้สึก คือความสุข ความทุกข์ ความไม่สุขไม่ทุกข์ของร่างกาย ปล่อยวางได้หมด ไม่ทุกข์อีกต่อไป ร่างกายจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป เวทนาจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป ลาภยศสรรเสริญจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป ตาหูจมูกลิ้นกายจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไป ถ้าจะรักษาก็รักษาไปตามเหตุตามผล รักษาได้ก็รักษาไป รักษาไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามความเป็นจริง แต่ใจจะไม่วุ่นวายกินไม่ได้นอนไม่หลับ กับการดูแลรักษาสิ่งต่างๆ เพราะไม่สามารถจะรักษาได้ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องแปรเปลี่ยนไปหมด ทุกสิ่งทุกอย่างที่เจริญสักวันหนึ่งก็ต้องเสื่อมหมดไป ศาลาหลังนี้สักวันหนึ่งก็ต้องเสื่อมหมดไป เหมือนกับกรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัย ที่สวยงามและยิ่งใหญ่ พอถึงเวลาก็ต้องเสื่อมหมดไป

 

ร่างกายของพวกเราก็เช่นเดียวกัน ไม่นานก็จะเสื่อมหมดไป กลายเป็นเศษกระดูกเศษขี้เถ้า ที่สัปเหร่อจะเก็บให้ญาติพี่น้อง หลังจากที่ได้ทำฌาปนกิจแล้ว นี่คือความจริงที่ต้องมองกัน เพื่อจะได้ปล่อยวาง จะได้ตัดไม่ยึดไม่ติด ไม่หลงไปคิดว่าเป็นของเราเป็นตัวเรา ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ใช่ของเรา ของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของดินน้ำลมไฟ ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากธาตุ ๔ มารวมกันเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นต้นไม้เป็นวัตถุต่างๆ เป็นข้าวของต่างๆ รวมกันได้สักระยะหนึ่งก็ต้องแยกจากกันไป เป็นอนิจจังไม่เที่ยง เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน ไม่มีเจ้าของ เป็นดินน้ำลมไฟ อย่าไปยึดอย่าไปติด อย่าไปอยากได้อยากมี เพราะจะทำให้ทุกข์ใจ เวลาอยากได้อะไร ใจก็จะกระวนกระวาย ได้มาแล้วก็กระวนกระวาย กลัวว่าจะจากไป เวลาจากไปก็เศร้าโศกเสียใจอาลัยอาวรณ์ เราสร้างความทุกข์ขึ้นมาเอง ด้วยความอยากของเรา ด้วยความหลงของเรา ไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆที่อยากได้นั้นเป็นทุกข์ ไม่รู้วิธีดับความทุกข์ แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าอยู่ที่การทำทาน รักษาศีล สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา ทำไมไม่ทำกัน ถ้าทำแล้วรับรองได้ว่า จะไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่ภายในใจ เพราะพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายได้ทำมาแล้ว ใจของท่านจึงไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่เลย เพราะได้เจริญทานศีลภาวนาอย่างเต็มที่ พวกเราก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน ถ้าเจริญทานศีลภาวนาอย่างเต็มที่ จึงขอฝากเรื่องของการเจริญทานศีลภาวนา เรื่องของการปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ด้วยปัญญา ว่าไม่มีอะไรเป็นของเรา ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ที่จะอยู่กับเราไปตลอด มีสิ่งเดียวที่จะอยู่กับเราไปตลอด ก็คือความสงบของใจ ที่เกิดจากการหยุดความคิด หยุดความอยากต่างๆ ให้พวกเรานำเอาไปพิจารณาและปฏิบัติกัน

 

การได้ยินได้ฟังผลของการปฏิบัติ จากผู้ที่ได้ผลมาแล้วนี้ จะทำให้ผู้ที่ยังไม่ได้ผลเกิดกำลังใจ อย่างเวลาครูบาอาจารย์แสดงธรรม เล่าถึงผลของการปฏิบัติของท่าน ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจ หลังจากฟังเทศน์ฟังธรรมไปแล้ว มีกำลังใจที่จะภาวนา กลับไปเดินจงกรมไปนั่งสมาธิต่อได้หลายชั่วโมง ปกติมักจะนอนกัน แต่วันไหนได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ใจจะกระปรี้กระเปร่ากระฉับกระเฉง เหมือนกับเอานิพพาน เอาผลของการปฏิบัติมายื่นให้กับเรา อยู่ตรงนี้เอง หยิบไปสิ เดินจงกรมนั่งสมาธิไปสิ เดี๋ยวผลก็จะมาเอง คอยควบคุมใจ อย่าปล่อยให้ลอยไปลอยมา อย่าปล่อยให้คิดเรื่อยเปื่อย ให้อยู่กับพุทโธ ให้อยู่กับร่างกาย ถ้าอยู่ได้แล้วก็จะรวมเข้าสู่ความสงบ พอสงบแล้วก็จะมีกำลังต่อสู้กับตัณหาความอยาก มีกำลังพิจารณาอนิจจังทุกขังอนัตตา พิจารณาอริยสัจ ๔ พิจารณาทุกข์ที่เกิดจากสมุทัยคือตัณหาความอยาก นิโรธที่เกิดจากมรรค มรรคคือการพิจารณาให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ก็จะหยุดความอยากดับความทุกข์ได้

 

อริยสัจ ๔ นี้อยู่ในใจของพวกเรา ส่วนใหญ่จะเป็นแต่ทุกข์กับสมุทัย เพราะใจจะคิดแต่เรื่องของความอยาก อยากได้นั่นอยากได้นี่ อยากจะไปนั่นอยากจะไปนี่ อยากจะดูอยากจะฟัง อยากจะเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะตลอดเวลา ไม่เคยคิดไม่อยากเลย ไม่เคยคิดเบื่อกับลาภยศสรรเสริญ เบื่อกับรูปเสียงกลิ่นรส ไม่เคยคิดว่าเป็นความทุกข์เลย ทั้งๆที่มันทุกข์แสนทุกข์ ก็ยังมองไม่เห็นว่ามันทุกข์ เช่นเวลาจะไปเที่ยวสักครั้งหนึ่ง ต้องเตรียมตัวเตรียมการมากน้อยเพียงไร ต้องทำหนังสือเดินทางต้องขอวีซ่า ต้องจองตั๋วเครื่องบินจองที่พัก ต้องตรวจโรค ต้องเสี่ยงภัยกับการเดินทาง ขึ้นแล้วไม่รู้ว่าจะลงแบบไหน เวลาลงแต่ละครั้งก็ท่องพุทโธๆกัน ขอให้ลงดี พอลงปลอดภัยแล้วก็อยากจะขึ้นใหม่อีก ทำไมอยู่เฉยๆไม่ได้ อยู่อย่างปลอดภัยกลับไม่อยู่กัน อยู่ติดดินสบายจะตายไป ชอบไปอยู่บนฟ้ากัน อยู่ยิ่งสูงเวลาตกลงมาก็ยิ่งเจ็บ

 

ต้องพยายามสร้างอิทธิบาท ๔ ขึ้นมา ฉันทะ ความยินดีที่จะภาวนา วิริยะ ความพากเพียรภาวนา จิตตะ ใจจดจ่ออยู่กับการภาวนา วิมังสา จะไม่คิดไปเที่ยวเมืองนอกเมืองนา ไม่คิดไปทำบุญทอดผ้าป่าทอดกฐิน ไปสร้างโบสถ์สร้างเจดีย์ สร้างมาพอแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสรู้ด้วยโบสถ์ด้วยเจดีย์ แต่ตรัสรู้ด้วยการนั่งภาวนาอยู่ใต้ต้นโพธิ์ อยู่ในป่า ปลีกวิเวก อยู่ตามลำพัง ถ้าอยากจะบรรลุธรรมเหมือนกับที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุ ก็ต้องปฏิบัติแบบที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติ ต้องปลีกวิเวก อยู่ในป่าในเขา อยู่ตามโคนไม้ อยู่ตามสถานที่สงบสงัด เดินจงกรมนั่งสมาธิสลับกันไป จนกว่าใจจะสงบ พอออกจากความสงบ ก็ใช้ปัญญาสกัดความอยากต่างๆ ถ้ายังไม่มีความอยาก ก็ซ้อมไว้ก่อนเตรียมไว้ก่อน เช่นความอยากไม่แก่อยากไม่เจ็บอยากไม่ตาย ก็ต้องพิจารณาละร่างกายไปก่อน ว่าร่างกายต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา เวลาอยากจะไม่แก่ก็ใช้ปัญญาสกัดความอยากได้ ว่าห้ามความแก่ไม่ได้ ร่างกายจะแก่เราไปหยุดมันไม่ได้ ถ้าอยากไม่แก่ก็จะทุกข์ใจไปเปล่าๆ ผมจะหงอกก็ปล่อยให้หงอกไป ไม่ต้องย้อม หนังจะเหี่ยวก็ปล่อยให้เหี่ยวไป ไม่ต้องทำศัลยกรรม ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วย รักษาได้ก็รักษาไป รักษาไม่ได้ก็ต้องอยู่กับมันไป เช่นเดียวกับความตาย ถ้าป้องกันได้ก็ป้องกัน ป้องกันไม่ได้จะตายก็ต้องปล่อยให้ตายไป แต่ใจอย่าอยากไม่ตายเป็นอันขาด ถ้าอยากไม่ตายจะทุกข์ทรมานใจ

 

ถ้ายอมรับความจริง ใจจะเฉยๆ ตายก็ได้อยู่ก็ได้ แต่ถ้ายังอยู่แล้วอยากจะตาย อย่างนี้ก็ไม่ถูก เป็นความอยากเหมือนกัน อยากตายก็ไม่ดี อยากไม่ตายก็ไม่ดี ต้องอยู่ตรงกลาง อยู่ระหว่างความอยากตายกับความไม่อยากตาย คืออยู่เฉยๆ เป็นอุเบกขา ปล่อยวาง ร่างกายจะอยู่ก็ปล่อยให้อยู่ไป เช่นเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยรักษาไม่หาย เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ตอนนั้นอยากจะตาย ก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา เพราะยังไม่ตาย เวลาร่างกายจะตายก็ไม่อยากตาย อย่างนี้ก็ทุกข์อีก ต้องปล่อยวาง ถึงเวลาจะตายก็ต้องปล่อยให้ตายไป ถึงเวลาอยู่ก็ต้องปล่อยให้อยู่ไป แล้วใจจะไม่ทุกข์ ใจไม่ได้เป็นร่างกาย ไปทุกข์กับร่างกายทำไม เหมือนกับไปทุกข์กับคนอื่นทำไม คนอื่นจะเป็นจะตาย ทำไมต้องวุ่นวายไปกับเขาด้วย ใจเราไม่ได้เป็นไม่ได้ตายไปกับเขาเลย ใจไม่มีวันตาย ใจได้ร่างกายที่เป็นเหมือนตุ๊กตาตัวหนึ่ง ใจก็เลี้ยงดูตุ๊กตาไป พาไปโน่นพามานี่ พาไปเที่ยว ถ้าไม่มีร่างกายก็ไปเที่ยวไม่ได้ ถ้าไม่มีความอยากเที่ยวแล้ว จะมีหรือไม่มีร่างกายก็จะไม่เป็นปัญหา

 

ถ้าไม่มีความอยากจะใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข ร่างกายจะเป็นอย่างไรก็ไม่เป็นปัญหา จะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตก็เป็นไป หลวงปู่ชอบต้องนั่งรถเข็นท่านก็ไม่เห็นเดือดร้อน ท่านก็อยู่กับมันไป เข็นท่านไปไหนท่านก็ไป ไม่เข็นท่านก็ไม่ไป ท่านอยู่ตามอัตภาพ ใจท่านไม่ได้ใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข ท่านไม่ได้ไปหาความสุข ท่านไปโปรดสัตว์ ไปเผยแผ่ธรรมะ ไปสั่งสอนธรรมะให้แก่ผู้อื่น แต่พวกเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเราไม่ได้ไปโปรดสัตว์ เราไปโปรดตัวเราเอง ไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายกัน พอร่างกายไม่สามารถไปได้ ก็หงุดหงิดเศร้าสร้อยหงอยเหงา อยากจะตายไม่อยากจะอยู่ พออยากจะตายก็ทุกข์อีก ทุกข์ซ้ำซ้อน ทุกข์ที่ร่างกายแล้วยังต้องมาทุกข์ที่ใจอีก ถ้าไม่มีความอยากตาย เวลาร่างกายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบาย ใจจะเฉยๆ ไม่เดือดร้อน เหมือนกับไม่ได้เป็นอะไร เวลาร่างกายปกติก็เฉย เจ็บไข้ได้ป่วยก็เฉย เพราะปฏิบัติรักษาใจให้เฉยได้ ด้วยการนั่งสมาธิ ด้วยการเจริญปัญญานี่เอง

 

เป้าหมายของการปฏิบัติก็คือรักษาความเฉย ความเป็นอุเบกขา ความสงบของใจนี่เอง นิพพานก็คือความสงบของใจ เป็นความสงบที่ถาวร ความสงบระดับอื่นยังไม่ถาวร ความสงบระดับสมาธิไม่ถาวร เพราะต้องออกจากสมาธิ ความสงบของพระโสดาบันก็ยังไม่เต็มร้อย พระโสดาบันสงบกับเรื่องความแก่ความเจ็บความตายของร่างกาย แต่ยังไม่สงบกับเรื่องของกามารมณ์ พระโสดาบันพระสกิทาคามียังวุ่นวายกับเรื่องกามารมณ์อยู่ เวลาเห็นรูปร่างหน้าตาสวยงามเกิดกามารมณ์ แต่พระอนาคามีไม่วุ่นแล้ว ท่านเห็นร่างกายทีไร ก็เห็นว่าไม่สวยงาม เพราะเห็นส่วนที่ไม่สวยงาม เห็นตอนที่ร่างกายตายไป เห็นอาการ ๓๒ เห็นอวัยวะต่างๆที่ซ่อนอยู่ภายใต้ผิวหนัง ท่านจึงไม่กระวนกระวายกระสับกระส่ายกับเรื่องกามารมณ์ ไม่วุ่นวาย ใจของท่านสงบ ไม่ว่าจะเป็นความแก่ความเจ็บความตาย ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของร่างกาย จะไม่ทำให้ใจของพระอนาคามีไม่สงบ เพราะไม่มีความอยากไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ไม่มีความอยากทางกามารมณ์

 

ส่วนพระอรหันต์นี้ท่านกำจัดความหลงในอัตตาตัวตนได้ ท่านไม่หลงว่าท่านมีตัวมีตน ท่านเป็นตัวรู้ ใครจะด่าก็รับรู้ ใครจะชมก็รับรู้ ไม่มีตัวตนมารับรู้ เหมือนกล้องถ่ายรูป ใครจะยิ้มใส่กล้อง ใครจะด่าจะหน้าบึ้งตึงใส่กล้อง กล้องก็ถ่ายหมด แต่ใจของผู้ที่ยังมีอัตตาตัวตนจะรับไม่ได้ เวลาเห็นหน้าบึ้งตึงดูถูกเหยียดหยาม ใจจะโกรธแค้น เพราะยังมีอัตตาตัวตนอยู่ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ทำตัวเป็นเหมือนปฐพี เป็นเหมือนดิน ใครจะเหยียบย่ำ อุจจาระปัสสาวะใส่ ปฐพีไม่เดือดร้อน ใจก็ต้องเป็นอย่างนั้น ใครจะดูถูกเหยียดหยาม ทำร้ายทำลายอย่างไร ก็ไม่เดือดร้อน จะเฉยๆ ไม่ถือตัว เพราะไม่มีตัวตนจะถือ มีแต่ตัวรู้ ก็รู้ไป สักแต่ว่ารู้ ดังที่ทรงสอนชายคนหนึ่ง ที่ขอพระพุทธเจ้าให้สอนธรรมะในขณะที่ทรงบิณฑบาตอยู่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเวลานี้ไม่ใช่เวลาสอน เขาก็ขอให้สอนแบบสั้นๆ สอนแบบสรุป

 

ก็ทรงตรัสสอนว่าให้รู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ เห็นอะไรก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินอะไรก็สักแต่ว่าได้ยิน อย่าไปคิดปรุงแต่ง ว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นเราเป็นเขา ไม่ต้องปรุงแต่ง ให้รับรู้เฉยๆ เขาก็เข้าใจความหมาย จึงขออนุญาตไปเตรียมอัฐบริขาร เพื่อจะได้บวช ไปกลางทางถูกกระทิงขวิดตาย พระพุทธเจ้าทรงทราบ ก็ให้ฌาปนกิจแล้วสร้างสถูปบรรจุอัฐิของเขาไว้ การสร้างสถูปบรรจุอัฐิแสดงว่า ต้องเป็นบุคคลสำคัญ สมัยก่อนจะสร้างสถูปหรือเจดีย์ก็เพื่อพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระมหาจักรพรรดิ แสดงว่าชายคนนั้นได้เข้าถึงธรรมะ เข้าถึงตัวรู้ แหวกม่านของอวิชชาโมหะ ที่หลอกให้คิดว่าตัวรู้เป็นตัวเราของเรา ตัวรู้เป็นเพียงตัวรู้ ไม่ได้เป็นตัวเราของเรา รู้เฉยๆ ไม่มีเรารับรู้ ถ้ามีก็จะดีใจเสียใจกับสิ่งที่รับรู้ ต้องรับรู้แบบกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายรูปไม่มีตัวมีตน ถ่ายภาพอย่างเดียว ใครจะทำหน้าอย่างไรใส่กล้อง ก็ถ่ายหมด ไม่เลือก ไม่เหมือนใจที่มีอัตตาตัวตน จะมองแต่คนที่ยิ้ม คนหน้าบึ้งจะไม่มอง

 

นี้คือการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงตัวรู้ เข้าถึงธาตุรู้ เข้าถึงของจริงของแท้ รู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ ก็ต้องทำใจให้สงบ ต้องระงับความคิดปรุงแต่ง แล้วจะพบกับความสุขที่แท้จริง ความสุขที่ไม่มีเจริญไม่มีเสื่อม ความสุขที่อยู่คู่กับผู้รู้ ที่หมดความอยาก ต้องปฏิบัติเท่านั้นถึงจะรู้ได้ ถ้าปฏิบัติก็จะบรรลุ จะรู้เฉยๆตลอดเวลา ไม่มีความอยากไปไหน อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ เหลือแต่หน้าที่เลี้ยงดูร่างกายไปตามอัตภาพ เลี้ยงได้ก็เลี้ยงไป เลี้ยงไม่ได้ก็อดตายไป ก็จบ แต่ใจไม่วุ่นวายกับเรื่องการเลี้ยงดูร่างกาย ไม่วุ่นวายกับการไปไหนมาไหน เพราะไม่มีความอยาก  

 

ถาม  ทีวีที่บ้านเสีย ไม่กล้าซื้อเครื่องใหม่ กลัวพระอาจารย์ดุ

 

ตอบ  ถ้าเสียก็ทิ้งไปเลย ไม่ต้องซ่อม เป็นข้อสอบ จะปล่อยวางรูปเสียงกลิ่นรสได้หรือเปล่า ถ้ายังทำไม่ได้ จะไปทำอะไรได้

 

ถ้าปล่อยวางกามฉันทะไม่ได้ เวลานั่งสมาธิใจจะไม่สงบ เพราะกามฉันทะเป็นนิวรณ์ เป็นกำแพงขวางกั้นความสงบ จะเข้าสู่ความสงบได้จะต้องทำลายกำแพง คือนิวรณ์ที่มีอยู่ ๕ ประการ คือ ๑. กามฉันทะ ความยินดีในกามารมณ์ ๒. พยาบาท ความโกรธ ไม่พอใจ ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่มั่นใจกับการปฏิบัติ ว่าจะได้ผลจริงหรือไม่ ต้องไม่มีความลังเล ต้องเชื่อว่าภาวนาแล้วจะต้องสงบแน่ ถ้าเจริญสติบริกรรมพุทโธต้องสงบแน่ กามฉันทะก็ต้องตัดไป ไม่ดูหนังฟังเพลง ถือศีล ๘ ไป ไม่ใช่เฉพาะวันพระ ทุกวันเลยสำหรับนักปฏิบัติ เป็นนักบวชทางใจ ถ้าบวชนุ่งเหลืองห่มเหลืองไม่ได้ ก็บวชทางใจไป อย่างน้อยก็ต้องถือศีลของนักบวชคือศีล ๘ ที่ให้ถือวันพระก็เพื่อเป็นการชิมไปก่อน พอชิมไปแล้วรู้ว่าเอร็ดอร่อย ก็อยากจะรักษาไปเรื่อยๆ จากวันเดียวกลายเป็น ๗ วัน เป็นนิจศีลไป เพื่อกำจัดกามฉันทะ ถ้าถือศีล ๘ ก็จะดูหนังดูละครไม่ได้ ฟังเพลงไม่ได้ ไปเที่ยวตามสถานบันเทิงต่างๆไม่ได้ เป็นวิธีกำจัดกามฉันทะ

 

ส่วนความสงสัยก็ต้องฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ ฟังเรื่องผลที่เกิดจากการปฏิบัติ ว่ามีจริง ภาวนาแล้วจิตสงบจริง ดับความทุกข์ได้จริง หลุดพ้นได้จริง จากการภาวนา ถ้าฟังแล้วจะไม่สงสัย จะทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับการภาวนา ส่วนความง่วงเหงาหาวนอน ถ้าถือศีล ๘ ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง รับประทานอาหารพอประมาณ ไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว ถ้ารับประทานอาหารเย็นจะง่วงมาก ถึงเวลาภาวนาก็อยากจะนอน ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเย็นท้องจะว่าง พอจะนั่งภาวนาได้ ถ้ายังง่วงอยู่ก็ต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้น ก็คืออดอาหาร หรือไปภาวนาที่ที่น่ากลัว ไปแถวเมรุแถวป่าช้า เวลามีความกลัวจะไม่ง่วง แต่ต้องมีสติควบคุมความกลัวได้ เวลาเกิดความกลัวต้องบริกรรมพุทโธ หรือเจริญพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติได้ ถ้าเจริญได้อย่างต่อเนื่องจิตก็จะสงบ ความกลัวก็จะหายไป

 

ส่วนความฟุ้งซ่าน ก็ต้องเจริญสติ บริกรรมพุทโธๆไป สกัดความคิดปรุงแต่ง ถ้าบริกรรมพุทโธก็จะคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ได้ ถ้าคิดไม่ได้ก็จะไม่ฟุ้งซ่าน จะสงบ ถึงแม้จะไม่สงบเต็มที่ ก็จะว่างจะเย็นจะสบาย จะคิดบ้างแต่คิดไม่มาก เหมือนกับตอนที่ไม่มีพุทโธ แบ่งกันคนละครึ่งก็ยังดี พุทโธครึ่ง คิดครึ่งก็ยังดี เหมือนกับรถที่วิ่งลงเขา ถ้ามีเบรกคอยเบรกไว้เรื่อยๆ ก็จะไม่วิ่งเร็วจนเกินไป ถ้ามีพุทโธคอยสกัดอยู่เรื่อยๆจะไม่ฟุ้งซ่าน ถึงแม้จะคิดบ้างก็จะไม่คิดฟุ้งซ่านแบบไม่มีเบรก ถ้าอยากกำจัดนิวรณ์คือความฟุ้งซ่าน ก็ต้องเจริญสติ บริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ

 

ส่วนความโกรธ ไม่พอใจ ก็ต้องแผ่เมตตา ต้องให้อภัย ไม่เอาเรื่องเอาราว จองเวรจองกรรม โดยพิจารณาว่าสิ่งที่เขาพูดสิ่งที่เขาทำ เราห้ามไม่ได้ แต่เราห้ามใจของเราได้ อย่าไปอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็จะไม่โกรธเวลาที่เขาทำอะไร นี่คือนิวรณ์ ๕ ประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำใจให้สงบ พระพุทธเจ้าจึงต้องมีมาตรการให้พวกเราเจริญกัน เช่นรักษาศีล ๘ หาที่อยู่ที่สงบสงัด ที่น่ากลัว เจริญสติอย่างต่อเนื่อง รับประทานอาหารพอประมาณ ไม่รับประทานมากจนเกินไป แล้วก็ฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ ฟังธรรมปฏิบัติ ฟังธรรมที่เกี่ยวกับการภาวนา ทั้งส่วนที่เป็นเหตุและส่วนที่เป็นผล ฟังแล้วก็จะไม่สงสัยว่า มรรคผลนิพพานมีจริงหรือไม่ ผลที่เกิดจากสมาธิมีจริงหรือไม่ จะไม่สงสัย จะทำด้วยความมั่นใจว่า ถ้าทำเหตุที่ถูก ผลที่ถูกก็จะต้องปรากฏตามมาอย่างแน่นอน ตอนนี้ปัญหาอยู่ที่เหตุ เหตุยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ กำลังตั้งไข่ ยังไม่คลอด ต้องพยายามเจริญเหตุ คือเจริญสติ กำจัดนิวรณ์ รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ควบคุมความโกรธด้วยการให้อภัย แล้วความสงบก็จะปรากฏขึ้นมาอย่างแน่นอน 

 

อยู่ที่ตัวเรา ไม่ได้อยู่ที่ใคร พระพุทธเจ้า พระอริยสาวก ครูบาอาจารย์ ท่านทำหน้าที่ของท่านแล้ว ท่านปฏิบัติแล้ว ท่านบรรลุแล้ว ท่านสั่งสอนแล้ว เราต้องเอาไปปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนรับยาจากหมอแล้วไม่รับประทานยา เมื่อไม่รับประทานยาโรคที่เป็นอยู่ก็จะไม่หาย โรคที่เราเป็นกันอยู่ก็คือโรคใจ คือความทุกข์ใจไม่สบายใจ ความเครียด ความฟุ้งซ่าน ต้องรับประทานยาที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้ ก็คือทานศีลภาวนา แต่เรารับประทานไม่ครบกัน รับประทานเพียงบางอย่าง รับประทานยาที่มีรสหวาน ยาขมไม่รับประทานเลย จะทำแต่ทานอย่างเดียว ศีล ๘ ไม่เอา ภาวนาไม่เอา ปลีกวิเวกไม่เอา โรคจึงไม่หาย ต้องรับประทานให้ครบสูตร ทานศีลภาวนาเป็นยา ๓ ชนิด ที่พวกเราต้องรับประทานกัน อย่าเอาแต่ทำทานเพียงอย่างเดียว

 

ถาม  จะเห็นตัวรู้หรือผู้รู้ได้อย่างไร

 

ตอบ  เวลาจิตรวมเป็นหนึ่งก็จะเห็นตัวรู้ จะรู้ว่าต้องรู้เฉยๆ เป็นอุเบกขา ถ้าเข้าไม่ถึงตัวรู้ก็จะคิดว่าเป็นตัวเรา จะมีปฏิกิริยากับทุกสิ่งทุกอย่างที่ใจไปสัมผัสรับรู้ สิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจก็ต้องกำจัด ถ้าสักแต่ว่ารู้ก็จะเฉยๆ เพราะการรู้เฉยๆจะสบายกว่า การไปต่อสู้ไปตอบโต้จะเหนื่อยไปเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ต่อให้ชนะคนอื่นเป็นหมื่นเป็นแสน ก็สู้ชนะใจไม่ได้ ชนะใจที่อยากจะไปต่อสู้ ให้รู้เฉยๆ ให้ปล่อยวาง จะเห็นตัวรู้ได้จิตต้องรวม